สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ชารี มณีศรี
อดีตท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา
รองอธิการบดี ฝ่ายวิทยาเขตสารสนเทศ สระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพา
ในหัวข้อ
๑. ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย
๒. การบริหารงานของมหาวิทยาลัย
๓. การขยายตัวของวิทยาเขตสระแก้ว
๔. ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม
สำนักหอสมุด: ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยบูรพา
รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร:
บุคคลที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นนิสิตรุ่น ๑ ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้แก่ รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์, รองศาสตราจารย์ประเทิน มหาขันท์, รองศาสตราจารย์สวัสดิ์ เรืองวิเศษ เป็นต้น
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นวิทยาเขตของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน และต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ก็มาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยบูรพาในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ศ. ๒๔๙๘ เริ่มก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน
พ.ศ. ๒๕๑๗ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน
พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาวิทยาลัยบูรพา
หลังจากที่เป็นมหาวิทยาลัยบูรพา การบริหารงานและดำเนินการเอง สมัยที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จะเป็นการจัดสรรงบประมาณแบ่งในวิทยาเขต ซึ่งสมัยนั้นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มีวิทยาเขต ๘ แห่ง จัดสรรงบประมาณแบ่งตามสัดส่วนเท่าๆ กัน ทั้งเรื่องอาคาร, งบประมาณ และบุคลากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จะดูแลให้ทั้งหมด พิจารณาตามความจำเป็น คณะในวิทยาเขต ซึ่งซ้ำกัน ๘ คณะ เช่น คณะวิทยาศาสตร์มีทุกวิทยาเขต และบางคณะเท่านั้นที่มีบางวิทยาเขต เช่น คณะแพทยศาสตร์ วิทยาเขตประสานมิตร ส่วนใหญ่จะได้ค่าดำเนินการ นอกจากนั้นเป็นค่าเงินเดือน ค่าตอบแทนวัสดุใช้สอย ซึ่งพออยู่ได้ตามภาวะที่ได้รับการจัดสรร ส่วนอัตรากำลังนั้นจะได้น้อยขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละวิทยาเขต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จะเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพราะมีผุ้บริหารประมาณ ๓๐ คน มีรองอธิการบดี จากวิทยาเขต ๘ แห่ง จะมีรองอธิการบดีของวิทยาเขตประสานมิตรอีกประมาณ ๔-๕ ฝ่าย เฉพาะรองอธิการบดีอย่างอย่างเดียวประมาณ ๑๓ คน การผลิตนิสิตนักศึกษาจะเน้นทางด้านสังศาสตร์, ศึกษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ นั้นได้เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองขึ้น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ทำให้เกิดการผลักดันทางการเมืองและเกิดพลังมวลชน ตั้งแต่ลานพระรูปทรงม้าได้เดินขบวน ในช่วงนั้นพลเอกณรงค์ กิตติขจร ได้ผลักดันจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา ให้เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สภาพทั่วไปของวิทยาเขตบางแสนก็ยังไม่แตกต่างเท่าไร เพราะยังวิทยาเขตของประสานมิตร แต่งสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ทำให้อัตรากำลังและจำนวนคณะก็ยังไม่ได้เพิ่ม จนกระทั่งได้มาเพิ่มคณะพยาบาลศาสตร์ หลังจากนั้นที่เราพัฒนามากที่สุดคือ เป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ เมื่อถึงปีงบประมาณ ๒๕๓๔ พอดีเป็นช่วงที่รัฐบาลยืดอำนาจ โดยคณะรักษาความมั่งคงแห่งชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ โดยเป็นช่วงที่นายกสภามหาวิทยาลัยคนแรก เป็น ดร.เสนาะ อูนากูล ท่านได้รับเชิญให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ดูแลเรื่องการเงินการคลังขแงรัฐบาลนายกอานันท์ ปันยารชุน ในช่วงนั้น และดร.เสนาะ อูนากูล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา และเป็นผู้ดูแลนโยบายเรื่องการเงินการคลังเศรษฐกิจ ฉะนั้นท่านก็มีส่วนช่วยผลักดัน เรื่อง งบประมาณ, อาคารของคณะต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เราเคยได้รับงบประมาณแผ่นดิน ประมาณ ๕๐ ล้านบาท และในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณ ถึง ๖๐๐ ล้านบาท และได้อัตรากำลังเพิ่มมากถึง ๒๐๐-๓๐๐ อัตรา ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้มีการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ทั้ง ๓ คณะที่จัดตั้งในช่วงนั้น (พ.ศ. ๒๕๓๔) งบประมาณ, อัตรากำลัง, สถานที่ และครุภัณฑ์ ได้รับงบประมาณในการจัดสรรตามแผนงานที่ได้รับจน ๒-๓ ปีให้หลัง ได้รับงบประมาณสูงถึง ๙๐๐ ล้านบาท ในช่วง ๒๕๓๕-๒๕๓๗ รวมทั้งอาคารชุดข้าราชการ ๓ หลัง (คอนโดมิเนียมที่พักของข้าราชการ) ส่วนใหญ่จะได้รับงบประมาณในรูปของสิ่งก่อสร้าง เช่น อาคารก่อสร้างของคณะต่างๆ และรวบถึงบุคลากรเป็นจำนวนมาก และเป็นช่วงที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นนดยบายของทบวงฯ ด้วยว่าถ้าเราจะขยายวิทยาเขตฯ เราน่าจะขยายผ่านความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์โดยใช้ดาวเทียม เลเซอร์นำแสง มาเป็นตัวขยายการเรียนการสอนโดยเทคโนโลยีการส่งสัญญาณภาพและเสียงไปยังวิทยาเขต นโยบายส่วนนี้มาจากคุณบุญชู ตรีทอง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย สมัยนั้นได้รับงบประมาณ ๓๐๐๐ ล้านบาท ปีแรกได้มา ๑๑๐ ล้านบาท มีการจัดสรรให้โครงการ IT campus อยู่ประมาณ ๑๑ แห่ง ได้ไปแห่งละ ๑๐ ล้าน มหาวิทยาลัยบูรพาได้มาประมาณ ๗ ล้าน และโครงการ IT campus ของหมาวิทยาลัยบูรพาได้ทดลองใช้ที่วิทยาเขตจันทบุรี ฉะนั้นสิ่งที่เกิดจากความต้องการของท้องถิ่น และผู้ที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงอีสานตอนใต้ และตอนล่าง จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดนครราชสีมา ทางผู้นำท้องถิ่นขอให้ทางมหาวิทยาลัยบูรพาช่วยพิจารณาในการที่จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน ประกอบกับมีมติคณะรัฐมนตรี ที่จะมำเป็นโครงการ IT campus หากในลักษณะเช่นนี้ ทางหมาวิทยาลัยก็ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก จึงดำเนินการเสนอโครงการนี้แก่ทบวงฯ ตั้งแต่งันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๐ โดยการเสนอเรื่องวิทยาเขตสระแก้ว ซึ่งทบวงฯ ได้พิจารณาประมาณเดือน มิถุนายน ๒๕๔๐ จนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ มีมติให้เห็นชอบให้ตั้งเป็นวิทยาเขตใน ๒ จังหวัด คือจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีเนื้อที่ให้ประมาณ ๔๐๐ กว่าไร่ และจังหวัดสระแก้วเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเนื้อที่จากผู้ที่บริจาคประมาณ ๑,๓๖๙ ไร่ ตอนนี้อยู่ระหว่างการทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่ออนุมัติการเช่าที่ดิน และได้มีองค์การบริหารส่วนตำบล, ทางอำเภอและจังหวัด ดูแลให้เป็นอย่างดี ในแงาของเอกสาร หลังจากที่มีมติทางมหาวิทยาลัยก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานโครงการ และมีที่ปรึกษาเป็นผู้นำทางการเมือง, ผู้ว่าราชการจังหวัด และมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการร่วมกัน ประชุมมาครั้งที่หนึ่งในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๐ มีความเห็นชอบว่าน่าจะเปิดสาขาแรกก่อนในสระแก้ว ถ้าเราจะไปรอตามแผนงานซึ่งมีคณะเกษตรอุตสาหกรรม หรือเกษตรเทคโนโลยี ยังคงอีกนาน ประมาณ ๓-๔ ปี ถึงจะเปิดได้ ก็เลยตกลงในที่ประชุมว่าน่าจะเปิดสาขาเร่งดวน สาขาอื่นก่อน เป็นแนวทางมรการบริหารงานก็ได้ เป็นสาขาเทคโนโลยีบัณฑิต, สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ธรว.) เป็นสาขาใหม่ในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยให้สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสภามหาวิทยาลัย ก็ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ขณะนี้กำลังรับสมัครสอบ ๒ หลักสูตรคือ สาขาคอมพิวเตอร์ (คทว.) ของคณะวิทยาศาสตร์ ๔๐ คน สาขาคอมพิวเตอร์สระแก้ว ๔๐ คน ซึ่งขายใบสมัครตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ รับสมัครวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ กำลังขายใบสมัคร ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของสระแก้ว คือหลักสูตรที่กล่าวมาแล้ว และจะมีนิสิตไปเรียนที่ วิทยาเขตสระแก้วในเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องจากเป็นมติคณะรัฐมนตรี ในวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งผ่านปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ไม่ได้รับพิจารณาเงินงบประมาณในปี ๒๕๔๐ เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยได้ขอความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งในขณะนี้ทางภาคเอกชน โดยคณะกรรมการพิจารณาแล้วให้การสนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยในขณะนี้คือ มหาวิทยาลัยได้ขอใช้อาคารที่ว่าการอำเภอวัฒนานครหลังเก่า เพื่อเป็นสถานที่สำนักงานชั่วคราว และอาคารเรียน ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุง ซึ่งจะเสร็จภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๑ โดยใช้เงินงบประมาณของเอกชนทั้งหมด รวมทั้งเดินสายไฟและได้รับความช่วยเหลือจากภาคเอกชนรถตู้ ๑ คัน จำนวนเงิน ๗๕๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ การปรับปรุงที่ว่าการอำเภอฯ ขณะนี้ยังไม่ทราบจำนวนเงิน เพราะยังอยู่ในขณะที่ซ่อมแซม อีกเรื่องคือ การเขียน Master Plan หรือผังแม่บทของมหาวิทยาเขตสระแก้ว ทาง ส.ส.วิทยา เทียนทอง ได้จัดสรรงบประมาณให้ประมาณ ๓ ล้านบาท ทางมหาวิทยาลัยฯ กำลังจะเซ็นสัญญากันที่จังหวัดสระแก้ว เพื่อไปทำแผนพัฒนาว่าที่ดินมีส่วนให้ทำอะไรบ้าง เช่น แหล่งน้ำ, ที่พักอาศัย เป็นต้น ใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ในการทำแผนแม่บท งบประมาณ ๒๕๔๒ ได้ทำการของบประมาณแผ่นดินตัวอาคาร ๑ หลัง อาคารเรียนรวม ๑ หลัง และในขณะนี้รัฐบาลกำลังรณรงค์ เพิ่มงานไม่เพิ่มเงิน เป็นเงื่อนไขของรัฐบาล และได้ของบประมาณจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ประมาณ ๑ ล้านบาท เพื่อที่จะสร้างถนน ๔ เลน เป็นระยะทางเชื่อมจากที่ดินวิทยาเขตสระแก้ว กับทางหลวงประมาณ ๘๐๐ เมตร สร้างค่อมทางรถไฟ ก่อนที่จะถึงอำเภอวัฒนานคร จะมีที่ทำถนนตรงไปเข้าที่วิทยาเขตสระแก้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ ๑-๒ ปี ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนระดับปริญญาดทภาคพิเศษ สาขาวิชาเอกบริหารการศึกษา และสาขาวิชาเอกการประถมศึกษา ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งได้ทำการเรียนการสอน โดยเดิมได้ขอยืมสถานที่ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระแก้วเป็นที่ทำการสอน และในปีการศึกษา ๒๕๔๑ จะย้ายไปที่ว่าการอำเภอวัฒนานครหลังเก่า คงจะใช้ไปอีกประมาณ ๓-๔ ปี เพราะรองบประมาณแผ่นดินที่ได้ขอตั้งไปในปี ๒๕๔๒
สำนักหอสมุด: สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร:
บางแสนเราได้พัฒนามาตามเวลาที่ควรจะเป็น ในช่วงแรกๆ ก็จะพัฒนาช้าหน่อย เพราะเป็นวิทยาเขตของประสานมิตร แต่ในช่วงที่เป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกเทศ ก็จะมีอาคาร, บุคลากร และของใช้ต่างๆ มากขึ้น ได้มีการสร้างถนนใหม่และปรับปรุงถนนสายเก่าในมหาวิทยาลัย ซึ่งเสร็จสิ้นไปในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ต่อไปคงเป็นสิ่งก่อสร้างในวิทยาเขตทั้ง ๒ แห่ง คือ วิทยาเขตจันทบุรี และวิทยาเขตสระแก้ว ไปจนถึงประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่จะมีคณะแพทยศาสตร์เกิดขึ้น การก่อสร้างภายในคงชะลอตัว
ส่วนสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป โดยทางภูมิศาสตร์ บางแสนถือได้ว่าเป็นจุดที่สำคัญในอนาคตเป็นการเมืองของกรุงเทพฯ และเป็นชานเมืองของกรุงเทพฯ เพราะมีทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งระยะเวลาในการเดินทาง กรุงเทพฯ-บางแสน ไม่ถึงชั่วโมง เป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนการสอนเสาะแสวงหาความรู้ ส่วนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมต่างๆ คงจะต้องปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น เพราะตอนนี้ต้นไม้ได้ถูกตัดไปจากการทำถนนในมหาวิทยาลัย และมีงบประมาณในการปลูกต้นมะพร้าว ๘๐,๐๐๐ บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยด้วย และต่อไปคงจะต้องพัฒนาบุคลากรทั้ง ๓ สายๆ ก, ข, และค และรัฐบาลแจ้งหนังสือเวียนเรื่องบุคลากร ถ้าหน่วยงานใดถึง ๑,๐๐๐ อัตรา และมีบุคลากรเกษียณอายุ ก็ให้ยุบอัตราเกษียณ ยกเว้นหน่วยงานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งมีประมาณ ๕๐๐ อัตรา เพราะเป็นงานตามกฎหมายหลัก
ในการทำหอจดหมายเหตุนั้น เป็นสิ่งที่ดีจะได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่สมัยที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน จนถึงมหาวิทยาลัยบูรพาและเป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าของบุคคลรุ่นต่อไป
สัมภาษณ์โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา