Burapha University Archives

จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยบูรพา

BURAPHA UNIVERSITY ARCHIVES

Month: February 2563

บทสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์วาณี ฐานปนวงศ์ศาสนติ

สัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์วาณี ฐานปนวงศ์ศาสนติ อดีตท่านเป็นหัวห้องสมุด วิทยาลัยการศึกษา บางแสนและมหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ บางแสนหัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในหัวข้อ๑. ความเป็นมาของห้องสมุดสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้บริหาร๒. การบริหารงานห้องสมุดสมัยนั้น๓. ผู้บริหารห้องสมุดตั้งแต่เริ่มแรก สำนักหอสมุด: ความเป็นมาของห้องสมุดสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ผศ.วาณี ฐานปนวงศ์ศาสนติ: ดิฉันเข้ามารับหน้าที่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในช่วงนั้น ดร.อนงค์ วิเศษสุวรรณ ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงนั้นไม่มีเจ้าหน้าที่จึงเข้าทำงาน และตอนนั้นยังไม่มีตำแหน่งบรรณารักษ์ ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ห้องสมุด ตามวิชาชีพที่จบมา เท่าที่ทราบเดิมทีเดียวห้องสมุดแห่งนี้เริ่มมีบรรณารักษ์คนแรกที่เป็นหลักฐานอยู่ คิดว่าน่าจะเป็นอาจารย์ ศรีทอง สีหาพงษ์ ท่านปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เริ่มที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ แต่ว่าสถานที่ตั้งนั้นไม่แน่ใจว่าตั้งที่ใด บางคนบอกว่าเริ่มตั้งแต่มีตึกอำนวยการคือปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เริ่มสร้างคิดว่าน่าจะเป็นปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มากกว่า ต่อมาก็ย้ายมาที่เรียกว่าตึกแอล ตามรูปแบบลักษณะของอาคาร ตอนนั้นรู้สึกจะมีแค่ ๒ ตึก (ตึกอำนวยการ, ตึกแอล) ข้างล่างเป็นห้องสมุด ส่วนข้างบนเป็นห้องพักอาจารย์และเป็นห้องเรียนด้วย เมื่อมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเค็มจะอยู่ซีกตะวันออก ส่วนซีกตะวันตกเป็นห้องสมุด ตอนที่เข้ามารับหน้าที่นั้น ปี …

บทสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์วาณี ฐานปนวงศ์ศาสนติ Read More »

บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์

สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์ อดีตอธิการบดีคนแรก มหาวิทยาลัยบูรพาในหัวข้อ๑. ประวัติความเป็นของมหาวิทยาลัย๒. เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยที่ท่านอาจารย์ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา๓. นโยบาย ทิศทาง และความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน๔. ลักษณะภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน และมหาวิทยาลัยบูรพา สำนักหอสมุด: ขอเรียนเชิญอาจารย์เล่าถึงเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ของมหาวิทยาลัยค่ะ ร.ศ.เชาวน์ มณีวงษ์: ที่จริงมหาวิทยาลัยนี้เกิดขึ้นมาจากการกระจายความเจริญทางด้านการศึกษา การกระจายโอกาสทางด้านการศึกษาไปสู่ประชาชนหรือไปสู่ส่วนภูมิภาค เพราะว่าเดิมทีเดียววิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ถือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกที่มีการประสาทปริญญาตรีแผนกแรกของประเทศ ที่ออกมาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาค แต่ว่าเหตุผลที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของมัน ก็คือว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เกิดขึ้นมาจากแนวความคิดในเรื่องการสร้างและการพัฒนาบุคลากร เพราะว่าประเทศชาติจะมีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ต้องสร้างคุณภาพของประชากรก่อน ที่นี้ก็มีการคิดกันว่าการจะสร้างคุณภาพของประชาชนก่อนนั้น ควรที่จะสร้างที่กลุ่มไหน นักคิดนักเขียนในขณะนั้นก็ไปนั่งคุยกัน ซึ่งมีนักวิชาการศึกษามากมาย กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งสมัยก่อนไม่มีทบวง ก็รวมอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ ก็มานั่งคิดกัน ในที่สุดก็บอกว่าต้องพัฒนาคนที่จะไปสอนคนก่อน คือการที่จะให้คนทั้งหลายดีทั้งประเทศนั้นต้องเอาคนที่จะไปสอนคนนั้นให้ดีที่สุดเป็นแม่บทที่ดีที่สุด ก็คือ ครู เพราะฉะนั้นวิชาชีพครู จึงได้รับการพัฒนาขึ้น จากเดิมนั้นครูแท้ๆ จริงๆ ไม่เคยมีปริญญา มีแค่ ปม. สูงสุด คำว่า …

บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์ Read More »

บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ชารี มณีศรี

สัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ชารี มณีศรี อดีตท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพารองอธิการบดี ฝ่ายวิทยาเขตสารสนเทศ สระแก้ว มหาวิทยาลัยบูรพาในหัวข้อ๑. ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย๒. การบริหารงานของมหาวิทยาลัย๓. การขยายตัวของวิทยาเขตสระแก้ว๔. ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุด: ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยบูรพา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร: บุคคลที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นนิสิตรุ่น ๑ ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้แก่ รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์, รองศาสตราจารย์ประเทิน มหาขันท์, รองศาสตราจารย์สวัสดิ์ เรืองวิเศษ เป็นต้น        ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นวิทยาเขตของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน และต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ก็มาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยบูรพาในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา          …

บทสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ชารี มณีศรี Read More »

บทสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ผาสุข กุลละวณิชย์

สัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ผาสุข กุลละวณิชย์   ในหัวข้อเรื่อง๑. ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยบูรพา๒. นโยบายและแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัย๓. การแปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ๔. แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยบูรพา สำนักหอสมุด: เรียนถามอาจารย์ถึงทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน อธิการบดี: แผนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย มีทั้งแผนระยะยาวและระยะสั้น ระยะสั้นในช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจ ฉะนั้น งบประมาณต่างๆ ก็ถูกตัดไปมาก เรื่องของการลงทุนในช่วงนี้เกือบจะไม่มีอะไรใหม่เลย ไม่ว่าจะเป็นอาคารใหม่หรือครุภัณฑ์ใหม่ๆ ก็ศูนย์หมด แม้แต่เงินที่จะดำเนินการในแต่ละปีก็ลดลงเยอะ ดังนั้นในขณะนี้ก็จะเป็นการประคองตัวเท่าที่จะทำได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามเสริมสร้างอะไรบางอย่าง เช่น เรื่องการพัฒนาคน ซึ่งคอนข้างจะเป็นเรื่องยากก็ยังพยายามทำอยู่ ก็ใช้เงินรายได้บ้างซึ่งมีปัญหามาก ตั้งแต่งบประมาณลดลง มันก็จะเป็นภาระในเรื่องเงินรายได้มากขึ้น เราต้องนำเงินรายได้มาใช้มากขึ้น และขณะนี้เงินรายได้ก็ร่อยหรอลงไปเยอะ ในช่วงระยะสั้น ปี-2 ปี นี้ก็คงเป็นการประคองตัว ในส่วนโครงการที่มีอยู่ก็พอดำเนินการไปได้ แต่การดำเนินการใหญ่ๆ ก็ไม่มีเลย มีแต่ซ่อมบำรุงเล็กน้อยพอรักษาตัวไป ที่พอจะทำได้ก็คือการพัฒนาคน ซึ่งก็ต้องหาวิธีใหม่ๆ มาดำเนินการ ส่วนระยะยาวก็ตามเป้าหมายเดิมทั้งที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ และทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด ก็พยายามจะสนับสนุนสนับสนุนการเรียนการสอนระดับหลังปริญญาตรีให้มากขึ้น ซึ่งก็หมายถึงหลักสูตรตั้งแต่ประกาศนียบัตรชั้นสูง ปริญญาโท-เอก เราก็พยายามทำ ก็เป็นที่น่ายินดีว่าปีนี้เรามีหลักสูตรปริญญาเอกเป็นหลักสูตรแรก คือ บริหารการศึกษา ซึ่งเริ่มรับนิสิตแล้ว ตอนนี้เรามีนิสิตปริญญาเอกบริหารการศึกษา รุ่นแรก …

บทสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ผาสุข กุลละวณิชย์ Read More »

บทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.ธำรง บัวศรี

สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.ธำรง บัวศรี อดีตท่านเป็นอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน คนแรก เป็นผู้ริเริ่มขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี ออกสู่ส่วนภูมิภาคและเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ศ.ดร.ธำรง บัวศรี:  เมื่อราวๆ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็มาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งตอนนั้นมีโรงเรียนฝึกหัดครู ก็ได้อยู่ที่นั่น แล้วพอเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางกระทรวงฯ ก็เรียกตัวไปบอกว่า อยากจะตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา ที่บางแสน ที่ก่อตั้งก็เนื่องจากว่า ตอนนั้นเค้ายกฐานะของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง มี ดร.สาโรจน์ อยู่ที่นั่น ดร.สาโรจน์เลย เสนอว่า ถ้าอยากให้โรงเรียนฝึกหัดครูก้าวหน้า จะต้องสร้างครูในระดับปริญญา มิฉะนั้นการฝึกหัดครูก็จะไม่มีคุณภาพ หรือตามไม่ทันเค้า ทางกระทรวงศึกษาฯ จึงเริ่มยกระดับโรงเรียนฝึกหัดครูให้เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ที่ประสานมิตร ซึ่งก็ราวๆ ต้นปี ๒๔๙๘ และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นคือ พลเอกมังกร พรหมโยธี ก็มีความเห็นร่วมกับจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งได้ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรีว่า น่าจะต้องกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เค้าก็มาคิดกันว่าน่าจะขยายการศึกษา โดยเฉพาะระดับสูงออกไปสู่ภูมิภาคด้วย ดังนั้น เมื่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นที่ประสานมิตรแล้ว …

บทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.ธำรง บัวศรี Read More »

ประวัติศาสตร์บอกเล่า

ประวัติศาสตร์บอกเล่า ศ.ดร.ธำรง บัวศรีอดีตรองอธิการบดี วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ผศ.ดร. ผาสุข กุลละวณิชย์อดีตอธิการบดี รศ.เชาวน์ มณีวงษ์อดีตอธิการบดี รศ. ชารี มณีศรีอดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา ผศ. วาณี ฐานปนวงศ์ศาสนติ บทสัมภาษณ์ บทสัมภาษณ์ บทสัมภาษณ์ บทสัมภาษณ์ บทสัมภาษณ์