เดิมชื่อวัดหลวง ตั้งอยู่บนถนนเจตน์จํานงค์ ในตัวเมืองชลบุรี เป็นวัดที่สำคัญเก่าแก่คู่เมืองชลบุรีสันนิษฐานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย มีภาพเขียนเก่าเรื่องทศชาติชาดก พระเวสสันดรชาดก
รูปเทพชุมนุมองค์โตเหมือนในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่กรุงเทพฯ ในพระอุโบสถวัดนี้เอง ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จประทับเมื่อครั้งออกจาพระนครศรีอยุธยา ตอนใกล้จะเสียกรุงแก่พม่าในปี
พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ่งที่น่าชมอีกแห่งหนึ่งในวัดก็คือพลับพลาตรีมุข อันสร้างด้วยไม้เก่าแก่ มีพระพุทธรูปหล่อสําริดทรงเครื่องกษัตริย์งดงามมาก ชาวเมืองชลบุรีเรียกกันว่า หลวงพ่อเฉย ซึ่งนับว่าศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเศษผ้าจีวรที่คลุมองค์ หลวงพ่อนําไปผูกข้อมือเด็กที่เจ็บออดแอดเลี้ยงยากจะกลายเป็นเด็กเลี้ยงง่ายอย่างน่าอัศจรรย์ วัดใหญ่อินทาราม มักเรียกผิดเป็น วัดใหญ่อินทาราม วัดใหญ่อินทาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนเจตน์จำนงค์ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง ตัวเมืองชล มีวัดที่มีศิลปะน่าแวะชมคือวัดใหญ่อินทาราม ใกล้กันมีวัดต้นสน ซึ่งมีโบสถ์และภาพเขียนที่น่าสนใจใกล้กับศาลากลางจังหวัดมีสวนสาธารณะริมทะเลบรรยากาศดีเป็นที่นิยมของคนเมืองชลและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างชาติชมจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาโบสถ์เปิดวันพระติดต่อสอบถาม โทร. ๐-๓๘๒๗-๕๘๔๔, ๐-๓๘๒๘-๓๒๖๔ การเดินทางไปเที่ยว หากจะไปรถส่วนตัว จากสี่แยกเฉลิมไทย (เฉลิมไทยชอปปิ้งมอลล์)
ใช้ถนนโพธิ์ทอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ถนนเจตน์จำนงค์ วัดอยู่ทางซ้ายมือ ก่อนถึงสี่แยกท่าเกวียน หน้าวัดมีลานจอดรถกว้าง หรือใช้รถประจำทางก็สามารถไปได้เช่นกันโดยรถสายรอบตัวเมืองชลบุรี เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยเสด็จมาพักทัพคราวมาปราบนายทองอยู่ นกเล็ก ซึ่งร่วมมือกับโจรสลัดข่มเหง
ชาวเมืองชลบุรี และขัดขวางมิให้ชาวเมืองชลบุรีไปสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ภายในวัดมีพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชให้สักการบูชาวัดนี้ผ่านการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เป็นพระอารามหลวง ที่นี่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ โบสถ์
ข้อมูลโดย http://www.thailands360.com/Eastern/ChonBuri
โบสถ์ มีฐานแอ่นโค้งเป็นท้องสำเภาและมีการต่อพาไลเป็นหลังคายื่นออกมา มีเสารองรับทางด้านหน้า ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายถึงต้นรัตนโกสินทร์ เครื่องบนหรือหลังคาทำซ้อนกันสองชั้น มีใบระกาหางหงส์เช่นวัดทั่วไป ส่วนช่อฟ้าทำเป็นรูปเทพนมหันหน้าออกทั้งสองด้าน มีความงามโดดเด่นสะดุดตามาก หน้าบันทั้งด้านหน้าและหลังของโบสถ์ปั้นลายปูนปั้นเป็นชั้นช่อดอกไม้ ใช้ถ้วยกระเบื้องเคลือบอย่างจีนมาประดับ กรอบประตูหน้าต่างก็ทำเช่นเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์
จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ เป็นภาพจิตรกรรมสีฝุ่น บนผนังระหว่างช่องหน้าต่างทั้งสองข้าง เขียนเรื่องทศชาติชาดก ตอนบนเป็นภาพเทพชุมนุมเรียงกันสามชั้น ผนังด้านหน้าตรงข้ามพระประธานเป็นภาพมารผจญ มีภาพทหารชาติต่างๆ เช่น ยุโรป จีนจาม ถืออาวุธต่างชนิดกัน ผนังด้านหลัง
พระประธานเป็นเรื่องไตรภูมิมีแผนภูมิจักรวาล ป่าหิมพานต์ นรกภูมิ และพุทธประวัติ ใครสนใจอยากรู้จักต้นนารีผลก็สามารถชมที่ผนังหลังพระประธานนี้ อยู่ทางตอนล่างของภาพ เป็นภาพต้นไม้ที่ออกผลคล้ายร่างกายมนุษย์ บนเพดานเขียนเป็นลายดาวเพดานบนพื้นสีแดง ส่วนขื่อเขียนเป็นลายไทยคล้ายลายผ้าโบราณ เสาหกคู่ที่รองรับขื่อเขียนลายทองทุกต้นทางวัดได้ร่วมกับกรมศิลปากรดูแลรักษาจิตรกรรมในโบสถ์ไว้ในสภาพที่สมบูรณ์ และทำคำบรรยายประกอบจิตรกรรมแต่ละด้านไว้ด้วย วิหารเล็กทิศเหนือของโบสถ์ ฐานวิหารมีลักษณะท้องช้างเช่นเดียวกับโบสถ์ บานประตูทางเข้าวิหารตกแต่งด้วยลายรดน้ำปิดทองภาพต้นนารีผลส่วนภาพเขียนภายในวิหารเลือนจนแทบมองไม่เห็นแล้วมณฑปพระพุทธบาท
อยู่หลังโบสถ์ มีการปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ภายใน มีพระพุทธบาทเบื้องซ้ายขนาด ๖๒×๑๔๙ ซม.
เปิดให้เข้านมัสการในช่วงตรุษจีนประมาณเดือน กุมภาพันธ์ เท่านั้น ผนังภายในมณฑปมีภาพเขียนที่เขียนขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เกี่ยวกับการกอบกู้อิสรภาพและการตั้งทัพที่วัดใหญ่อินทารามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และมีภาพวิถีชีวิตประเพณีของชาวเมืองชล รวมถึงประเพณีวิ่งควาย แต่ละภาพมีคำโคลงบรรยายประกอบหลวงพ่อเฉย
เหรียญหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่ชลบุรีหลวงพ่อเฉย เป็นพระพุทธปฏิมาสำริดทรงเครื่อง ศิลปะสมัยอยุธยา เดิมทีหลวงพ่อเฉย เป็นพระพุทธรูปประจำอยู่วัดสมรโกฏิ เป็นวัดที่สร้างในยุคเดียวกับวัดใหญ่อินทาราม (พระอารามหลวง) แต่ต่อมาภายหลังวัดสมรโกฏิไม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา และขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง จึงกลายเป็นวัดร้าง
และวิหารที่ประทับของหลวงพ่อเฉยก็ชำรุดทรุดโทรม ขาดผู้บูรณะซ่อมแซม จึงผุพังไปตามกาลเวลา ทำให้
หลวงพ่อเฉย ต้องประดิษฐานประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ท่ามกลางแสงแดดและลมฝนอยู่นานหลายปี เป็นที่สังเวชต่อสายตาของผู้พบเห็นยิ่ง ชาวบ้านจึงได้ขนานนามท่านว่า “หลวงพ่อเฉย” เพราะท่านประทับนั่งเฉยอยู่กลางแจ้ง ฝนตก แดดออก ถูกต้องท่าน ท่านก็ไม่ได้บ่นได้ว่าอะไร ต่อมาชาวบ้านทนดูไม่ได้อีก จึงได้ประกอบพิธีอัญเชิญย้ายท่านจากวัดร้างสมรโกฏิมาอยู่ ณ วัดใหญ่อินทาราม (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่เลขที่ ๘๕๘ ถนนเจตน์จำนงค์ ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ประชาชนได้สักการะหลวงพ่อเฉย ในช่วงเทศกาลงานประจำปีของจังหวัดชลบุรี วัดใหญ่อินทาราม จึงได้สร้างหลวงพ่อเฉยองค์จำลองขึ้น เพื่อนำแห่รอบเมืองชลบุรี แต่ด้วยเป็นพระพุทธรูปจำลององค์ใหญ่ ที่มีลักษณะเหมือนและมีขนาดเท่าองค์จริง มีน้ำหนักมาก จึงนำขึ้นแห่ได้เพียงปีเดียว และได้อัญเชิญมาประดิษฐานให้ประชาชนได้กราบไหว้ที่บริเวณด้านล่างภายในวัด อีกองค์หนึ่งด้วย
หลวงพ่อเฉย เป็นพระพุทธรูปที่มีบารมีอิทธิฤทธิ์ สามารถบันดาลให้เด็กเล็กๆ ที่เจ็บป่วยออดแอด สามวันดีสี่วันไข้ กลับกลายเป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายอย่างน่าพิศวง ชาวบ้านที่มีลูกเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ มักจุดธูปเทียน ถวายเป็นลูกหลวงพ่อเฉย โดยจะฉีกชายจีวรที่ห่มคลุมองค์หลวงพ่อไปผูกข้อมือเด็ก เด็กก็จะหายโรค หายภัย เลี้ยงง่าย เมื่อเห็นว่าผ้าเหลืองที่คลุมองค์หลวงพ่อถูกฉีกไปมากเข้า ชาวบ้านก็จะมีศรัทธานำจีวรมาห่มให้ใหม่อย่างไม่รู้จัก
จบสิ้น หรือหากผู้ใดของหาย เมื่อเข้ามาบนบานต่อหลวงพ่อเฉยแล้ว ก็จะได้ของคืนเกือบทุกราย จึงเป็นที่เคารพสักการบูชาอยู่เสมอมา แหล่งเรียนรู้ภายในวัดภายในวัดใหญ่อินทาราม มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่
น่าสนใจและควรค่าแก่การศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ ๑. พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ๒. พระอุโบสถและภาพจิตรกรรมฝาผนัง ๓. พระวิหารที่ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองโบราณ ๔. ศาลาเก้าห้อง
๕. สระหอไตร ๖. ห้องสมุดภัทรธาดาและห้องสมุดทองเจริญผล ๒๕๑๕ พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช
ข้อมูลจาก: http://www.tumsrivichai.com