จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน : วัดใหญ่อินทาราม

      ผนังหุ้มกลองด้านหลัง ปรากฏภาพไตรภูมิโลกสัณฐาน บริเวณกึ่งกลางผนังเหนือกรอบประตูเป็นภาพเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นเขาสูงสุดอยู่ตรงกลางห้อมล้อมด้วยเขา
สัตตบริภัณฑ์ ยอดเขาเป็นที่ประทับของเหล่าเทพยดา ส่วนยอดเป็นที่ประทับของ
ท้าวสักกะ (พระอินทร์) เหนือขึ้นไปเป็นภาพหมู่เมฆวิมาน พระอาทิตย์และพระจันทร์อยู่
ข้างละดวงแสดงออกถึงจักรวาล ใต้ภูเขาพระสุเมรุเป็นรูปปลาใหญ่ ๑ ใน ๗ จำพวกที่อาศัยอยู่ในโลณมหาสมุทรหนุนภูเขาอยู่ ถัดลงมาเป็นเรื่องราวของป่าหิมพานต์และ
อันพดาปสระในหิมพานต์มีแม่น้ำสำคัญ ๔ สายซึ่งเกิดจากภูเขาต้นน้ำที่มียอดเขาเป็นรูปหัวสัตว์ ๔ ชนิด คือ ช้าง ม้า โคและสิงห์โดยน้ำจะออกมาจากปากสัตว์ทั้งสี่ ส่วนที่เป็น
ป่าหิมพานมีต้นนารีผลหรือมักผลที่มีดอกผลเป็นสตรีสาว อันเป็นที่หมายปองของเหล่าวิทยาธรที่มาแวะเวียนเพื่อจะแย่งกันนำไปเชยชม นอกจากนี้ยังมีสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ เช่น กินนร กินรี ตอนล่างสุดของภาพเป็นนรกภูมิแสดงการพิจารณาโทษของพญายมราช และการลงทัณฑ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามลักษณะของบาปโทษของแต่ละบุคคล ตลอดจนนรกชุมต่างๆ ซึ่งใช้เป็นที่ขังของบรรดาผู้ตกอยู่ในนรกแห่งนั้น ทางตอนล่างของภาพทางซ้ายมีการเขียนภาพพุทธประวัติแทรกลงไปในสมัยหลัง

แผนที่