ประวัติความเป็นมา
ศิลาประกอบด้วยหินอัดเป็นประเภทหินแกรนิตและหินทราย หินแกรนิตที่พบแทรกตัวขึ้นมาสลับระหว่างหินชัน ซึ่งพบมากตามแหล่งที่เป็นเขาติดกับฝั่งทะเล และจากการที่มีหินแกรนิตซึ่งมีสีขาวนวล, สีเหลืองอ่อนและมีความแข็งแกร่งจำนวนมากที่ตำบลอ่างศิลาทำให้เกิดอาชีพการทำครกหินและกลายเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านชาวประมงอ่างศิลา สภาพหมู่บ้านตำบลอ่างศิลาเดิมเรียกว่า “อ่างหิน” เนื่องจากมีอ่างหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านอาชีพที่สำคัญของชาวตำบลอ่างศิลา นอกจากการทำประมงทางทะเล ทอผ้าแล้วอาชีพที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาชีพแกะสลักหินเมื่อกล่าวถึง “อ่างศิลา” สิ่งแรกที่คนทั่วไปจะนึกถึงก็คือครกหิน เพราะครกหินเป็นสัญลักษณ์ของสินค้าพื้นเมือง ที่นำชื่อเสียงมาให้แก่ ชาวตำบลอ่างศิลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจาก ครกหินอ่างศิลามีจุดเด่นอยู่ที่หินมีความแข็งแกร่ง ตำแล้วไม่เป็นทรายและมีสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน นอกจากการทำครกหินแล้วชาวตำบลอ่างศิลายังนำหินมาแกะ สลักเป็นรูปต่างๆ เช่นรูปเจ้าแม่กวนอิม พระพุทธรูป ซึ่งมีความสวยงามมากมีคนจีนอพยพและมาอาศัยอยู่ในตำบลอ่างศิลาซึ่งต้องการทำของต่างๆ เช่น อาหารขนมเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากข้าวแล้วนำมาบดให้ละเอียดเป็นแป้ง คนจีนเหล่านั้นจึงหาวิธีที่จะนำหินมาทำโม่เพื่อโม่แป้งและเห็นว่าอ่างศิลามี หินที่เหมาะสมที่จะทำโม่ จึงสกัดหินมาเพื่อใช้ทำโม่ และเมื่อมีเศษหิน เหลือชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ไม่สามารถทำโม่ได้แล้วจึงลองนำมาทำครกหินดูเพื่อ ใช้ตำน้ำพริก และหรือบดของอื่นๆ จนกระทั่งกลายมาเป็นของใช้ประจำบ้านอย่างหนึ่งแต่เดิมครกที่ทำที่ตำบลอ่างศิลาจะไม่มีการซื้อขายครกกันในพื้นที่ของตำบลแต่จะนำไปส่งขายที่ กรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัด ดังนั้นชื่อเสียงของครกหินอ่างศิลาจึงเป็นที่รู้จักของชาวกรุงเทพฯ และคนในจังหวัดอื่นๆ เป็นอย่างดีต่อมาความต้องการสินค้าประเภทครกหินเพิ่มมากขึ้นอาชีพการทำครกหินก็มากขึ้น จนบ้านอ่างศิลาได้ถูกสกัดหินนำมาใช้จนหินมีปริมาณเหลือน้อย ดังนั้น จึงนำหินจากต่างจังหวัดเข้ามาทำครกหินกันใน
ตำบลอ่างศิลา รวมทั้งมีการปรับปรุงรูปแบบและมีเอกลักษณ์เป็นการเฉพาะตัวคือ “ครกหินอ่างศิลาจะต้องมีสองหู” เท่านั้น
ช่างแกะสลักหินอ่างศิลา (ทำครก)
การแกะสลักหินอ่างศิลาหรือภาษาช่างพื้นถิ่นที่นี่เรียกว่า“ตีหิน” เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีของประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะ “การตีครก” หรือ “การแกะสลักครก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านดั้งเดิมของอ่างศิลามาแต่ครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา และมีชาวบ้านในหลายครัวเรือนได้ใช้เวลาว่างจากการทำประมงมาตีหินทำครกเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง หรือมีอีกหลายครัวเรือนได้หันมาประกอบอาชีพตีหินนี้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน
การแกะสลักหินอ่างศิลา เป็นภูมิปัญญางานช่างที่มีจุดกำเนิดบริเวณแหลมแท่น ตำบลแสนสุข
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (แต่เดิมเรียกว่าตำบลบางพระ) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เมื่อครั้งพระศิลาการวิจารณ์มาทำศิลาในการพระพุทธรัตนสฐานที่แหล่มแท่น โดยได้อาศัยการสกัดหินแกรนิตตรงโขดหินบริเวณชายหาดออกเป็นก้อนๆ แล้วจึงขนย้ายเข้ากรุงเทพฯ การทำหิน
ในครั้งแรกนั้นจะเป็นการสกัดหินออกไปเพื่อใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเป็นหลัก จนต่อมา
ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีชาวจีนได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ตรง
แหลมแท่น และได้ริเริ่มสกัดโขดหินตรงแหล่มแท่นออกมาใช้ทำเป็นป้ายฮวงซุ้ย โม่หินเป็นชิ้นงานในระยะแรก
การแกะสลักหินในรูปผลิตภัณฑ์ครกมีพัฒนาการต่อมาที่อ่างศิลาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อยด้วยการอาศัยหินแกรนิตที่อ่างศิลาที่มีเนื้อหินเป็นเหล็กเพชร เมื่อนำมาทำเป็นครกแล้วจะออกสีเนื้อมันปูหรือออกทางสีขาวนวลอย่างสวยงาม ส่วนรูปแบบของครกนั้นมีที่มาจากการดัดแปลง
รูปทรงจากกระถางธูปไหว้เจ้าของจีนซึ่งมีจุดสังเกตคือมีปุ่มนูนสองข้างครกหรือที่เรียกว่าหูอย่าง
เด่นชัด นอกจากนั้นช่างที่อ่างศิลายังได้พัฒนาปรับปรุงรูปแบบครกให้มีลักษณะเป็นรูปทรงอื่นๆ อีกหลายแบบ ได้แก่ ครกขา ครกกะเบือ ครกฟักทอง และครกฟูเกลียวพร้อมไปกับออกแบบลวดลายแกะลงบนตัวครก เช่น ลายกระจัง ลายกงจักร ลายธรรมจักร ลายตาอวน (ลายข้าวหลามตัด)ลายเกลียว ฯลฯ
นายสมบูรณ์ รอดทอง อายุ ๖๒ ปี (ปี ๒๕๕๗) ช่างแกะครกหินอ่างศิลา อุปนิสัยเป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส่ พูดจาเป็นกันเอง เปิดร้านขายครกหินที่
อ่างศิลา และเป็นคนแกะสลักครกหิน ทำมาประมาณ ๔๐ กว่าปี ชึ่งปัจจุบันมีลูก ๔ คนแต่ไม่มีใครสืบทอดทางด้านนี้เลย ชึ่งคุณสมบูรณ์กล่าวอีกไม่นานครกหินอ่างศิลา
จะสูญหาย
เครื่องมือและอุปกรณ์แกะสลักหิน
เครื่องมือแกะสลักหินใช้ทำครกแบบดั้งเดิมของช่างพื้นบ้านอ่างศิลาและใกล้เคียงมีลักษณะไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เน้นการใช้ด้วยมือเป็นหลัก
ไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงมากนัก และมีเครื่องมืออุปกรณ์บางตัวช่างต้องทำมันขึ้นมาเพื่อใช้ประจำตัวเพื่อให้สามารถหยิบจับได้ถนัดคือและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
อีกด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้ด้วยมือของช่างอ่างศิลาสามารถจำแนกตามชื่อเครื่องมือแบบพื้นบ้านดังนี้
๑. ไม้บรรทัดฉาก ไม้บรรทัดฉากหาจุดกึ่งกลางของก้อนหินแล้วใช้วงเวียนและหมึกจีนวาดเส้นรอบวงของครกและปากครก เป็นสองเส้น
๒. เครื่องเจียร
๓. ค้อน
๔. สิ่ว
๕. ลิ่ม เหล็กกล้าตัวด้ามกลม ส่วนปลายแบนใช้สำหรับผ่าหิน
๖. หมึกจีน
หินที่ใช้ตีครกมี ๓ ชนิด ตือ
๑. หินสีแดง เป็นหินอิตาลี
๒. หินสีดำ หินอ่างศิลา หินนี้ซื้อมาจากจังหวัดตาก
๓. หินสีดำมากๆ เป็นหินแอฟริกา
การผ่าหิน
การผ่าหิน กรรมวิธีผ่าหินเมื่อก่อนไม่มีการใช้ระเบิดเพื่อการย่อยหิน หรือเครื่องมือกล (Power tools) เพื่อการสกัด ผ่าหิน แกะสลัก ฯลฯ เช่น
ทุกวันนี้ หากแต่ขั้นตอนในการทำงานจะใช้เครื่องมือที่คิดขึ้นจากภูมิปัญญาของช่างเอง หรือใช้เครื่องมือที่ใช้ด้วยมือ (Hand tools) เป็นอุปกรณ์หลัก เช่น
การผ่าหิน ก็จะนำ“ลิ่ม” มาเจาะรูลงบนหินให้เป็นแนวตามขนาดยาว (กว้าง) ของก้อนหิน (แผ่นหิน) ก่อนแล้วจึงใช้“จั๋ม” (เหล็กสกัด) เจาะรูให้ลึกลงไป หลักจากนั้นจึงใช้เหล็กลิ่มอัดด้วยการใช้ค้อนใหญ่ตอกให้ก้อนหินแตกออกจากกันเป็นก้อนย่อมๆ
การผ่าหินอีกแบบหนึ่งเป็นการผ่าหินขนาดใหญ่มีการใช้เครื่องมือกล และเครื่องมือ
ทุ่นแรงเข้าช่วย ได้แก่ เครื่องมือลม ปั๊มลม ลิ่มและปีก หรือ “ลิ่มเบ่ง” เป็นต้น การผ่าหินแบบนี้กรรมวิธีจะต้องเริ่มจากการใช้ค้อนลมเจาะรูนำลงบนหินก่อนเป็นช่วงๆ ไปตามแนวเส้นที่แบ่งไว้
รูที่เจาะมีความลึกตื้นจะขึ้นอยู่กับขนาดความหนา ความใหญ่ของก้อนหิน (ในการนี้ก่อนเจาะต้องเลือกใช้ก้านเจาะให้เหมาะสมกับความหนาของก้อนหินด้วย) หลังจากนั้นถ้าใช้ลิ่มเบ่งแบบเดิมก็ให้สอดปีกส่วนของปลายแหลม (หรือหัว) ตั้งขึ้นจากช่องที่เจาะไว้แล้วตามด้วยสอดลิ่มไว้ตรงกลางระหว่างปีกให้ครบตามรูที่ได้เจาะวางเข้าไว้ หลังจากนั้นจึงใช้ค้อนปอนด์ (น้ำหนักของค้อนหนักเบาขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนหิน) ตีลงบนโคนลิ่มของแต่ละจุดสลับกันไปมาจนก้อนหินค่อยๆ แยกออกจากกัน กรณีการใช้ลิ่มเบ่งขนาดใหญ่ “ตัวลิ่มและปีก” จะประกอบเป็นชุดเดียวกันวิธีใช้เพียงแต่สอดใส่ชุดอุปกรณ์นี้ลงไปก็สามารถใช้การได้โดยทันที ไม่ยุ่งยากเหมือนแบบเดิม
การผ่าหินตามกรรมวิธีแบบเก่า ต้องใช้เวลานานด้วยการทอนหินหรือลดขนาดของหินให้มีขนาดย่อมลง และให้ได้รูปที่ต้องการ กรรมวิธีแบบนี้ยังมีใช้กันอยู่บ้างด้วยไม่ต้องลงทุนมาก และสามารถใช้เครื่องมือที่ใช้ด้วยมือ (Hand tools) แบบพื้นๆ ได้ เช่น ใช้เหล็กสกัดตีลงบนก้อนหินที่ต้องการจะผ่าให้เกิดเป็นหลุมและเป็นแนวตามระยะที่ต้องการจะผ่า แล้วใช้ลิ่มขนาดยาว ๑ ฟุต
สอดลงไปและพยายามตีลงไปที่โคนลิ่มให้หนักเฉลี่ยให้ทั่ว ตีไปสักพักก้อนหินจะค่อยๆ แตกร้าว
แยกออกจากกัน
ข้อควรระวัง การใช้แรงตีของค้อนต้องมีน้ำหนักแรงที่สม่ำเสมอ และตีซ้ำๆ ตรงโคนลิ่ม
ให้เฉลี่ยทั่วกันอีกทั้งขณะผ่าหินต้องพยายามสังเกตแนวของหินด้วยว่า แนววิ่งไปทางใดมากที่สุด เวลาผ่าหรือตัดหินให้เน้นไปตามแนวนั้น ซึ่งแนวของหินมีลักษณะเป็นเสี้ยนเกล็ดหินเล็กๆ
วิ่งไปแนวเดียวกันบ้าง ย้อนกลับบ้าง วางขวางบ้างไม่แน่นอน การผ่าหรือตัดหินต้องตีไปตามแนวที่วิ่งไปทางเดียวกันให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ตัดหรือสกัดให้ขาดได้ง่ายที่สุด การไม่ตัดหินตามแนวจะทำให้ได้เนื้อหินน้อย เพราะหินจะเสี้ยวไม่เป็นไปตามกำหนด เช่น แทนที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมกลับไม่เป็นรูปอะไรเลย เพราะหินที่ตัดไว้นั้นเสี้ยวมากไม่สามารถบังคับแนวเส้นที่จะตัดได้ตามขนาดต้องการ
ขั้นตอนการแกะสลักการแกะสลักหินของช่างพื้นบ้านอ่างศิลาและเสม็ด
เมื่อก่อนมีกรรมวิธียุ่งยากมากเพราะต้องไปสลักหินจากโขดหินชายทะเลที่แหลมแท่นหรือหลังวัดอ่างศิลาเพื่อให้ได้ขนาดของแท่งหินที่ได้ส่วนประมาณยาว
๒ เมตร กว้าง ๑ เมตร หนา ๑ เมตร และสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายออกไปใช้งานได้ หลังจากนั้นจึงนำมาตัดและย่อยเป็นก้อนให้เล็กลงตามลำดับจนได้ขนาดหินสูง ๑๐-๑๒ นิ้ว กว้าง ๑๐ นิ้ว สำหรับทำโม่ ส่วนทำครกมีความสูงประมาณ ๔-๖ นิ้วกว้าง ๗-๘ นิ้ว ส่วนเศษหินก้อนเล็กๆ จะถูกย่อยให้เป็นท่อนสำหรับทำไม้ตีพริก
(สาก) โดยหินที่ถูกย่อยแล้วเรียกว่า “กั๊ก” เป็นขนาดแท่งสี่เหลี่ยมมีขนาดพอเหมาะสามารถนำไปสกัดเป็นครกหรือเป็นโม่ได้ กรณีกรรมวิธีการแกะสลักครกหรือ
ตีครก (ภาษาท้องถิ่น) ตามแบบดั้งเดิมนั้นมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนแรก ต้องสกัด (ตัดหิน) ให้ได้หินที่เรียกว่า “หุ่น” (ก้อนหินเป็นแบบ) ก่อน
ถ้าจะแกะสลักครกก็ต้องมีหุ่นครกเป็นเค้าโครงคร่าวๆ ก่อน เป็นแบบรูปครกตามขนาด
และสัดส่วนโดยรวม ซึ่งหุ่นจะใช้แกะสลักครกนั้นจะมีหลายขนาดต่างกันไปตามแต่ความคิดของช่างจะทำครกแบบไหน (ครกขา ครกโบราณครกฟักทอง ครกกะเบือ) มีตั้งแต่ ขนาดปากกว้าง ๒ นิ้ว ไล่ไปจนถึงขนาดใหญ่สุดปากกว้าง ๑๒ นิ้ว การเริ่มต้นแกะสลักครกต้องใช้ “จ๋ำ” (เหล็กสกัด) สกัดผิวหน้าของหินให้พอเรียบเสมอกันก่อน แล้วจึงค่อยโกลนรูปด้านข้างพอให้ได้รูปร่างแบบหยาบๆ ของครกเสร็จแล้วใช้ “จ๋ำ” ตัวเล็กมีปลายแหลม สกัดเก็บแต่งด้านหน้าผิวหินให้เรียบขึ้น (ภาษาช่างท้องถิ่นอ่างศิลาเรียกว่า “แพ้หน้าจ๋ำ” แล้วต่อมาใช้ “พง” (มีรูปคล้ายค้อน ดูตารางที่ ๑) สับผิวหน้าให้เรียบ
ขั้นต่อไปจึงใช้ไม้ฉาก (ทำจากไม้) และ “ไม้กี๊” มาชุบหมึกจีนลากเส้นตรงตัดกันเพื่อหาศูนย์กลางให้ได้แล้วจึงนำวงเวียนไม้ไผ่ (แบบโบราณ) จุ่มหมึกจีนตั้งให้ได้ศูนย์กลางแล้วลากตามความกว้างและความยาวที่ต้องการโดยมีสายเชือกเป็นตัวกำกับระยะให้ได้ส่วน
ขั้นตอนที่สอง ใช้เหล็กสกัด (สกัด) เจาะลงไปในหุ่นที่ลากเส้นกำกับขนาดไว้ให้เป็นหลุมลงไปโดยขั้นนี้อาจใช้จ๋ำใหญ่มาสกัด พอขุดลงไปสักระยะหนึ่งพอได้ขนาดก็ใช้เหล็กสกัด
ที่เรียกว่า “แต้” สกัดผิวนอกครกให้เป็นทรงอย่างต้องการ และควรใช้ “กี๊” เชือกวัดวาด
รอบครกเพื่อกำหนดความสูงของครก (จากปากถึงก้น) ไว้เป็นแนวสำหรับตัดก้นครกให้เรียบร้อย เพื่อตัดก้นครกพอได้ขนาดแล้วจึงใช้ “พง” สับหรือเคาะผิวให้เรียบร้อยอีกครั้งก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
เคล็ดลับเชิงกลวิธี การแกะสลักครกต้องเริ่มจากด้านในก่อนโดยเจาะให้เป็นหลุมลึกลงไปตามขนาดที่ต้องการ (อาศัยประกอบด้วยสายตา) เหตุที่ต้องแกะสลักจากด้านในก่อนเนื่องจากว่าหินด้านในหนากว่าด้านนอก การเจาะหินลงไปกระทำได้ยากต้องใช้แรงในการตี หากตีแรงโดยไม่ระมัดระวังอาจทำให้ครกบิ่นหรือแตกได้ง่าย หรือหากทำด้านนอกก่อนยิ่งทำให้เนื้อหินส่วนที่เป็นปากครกบางยิ่งขึ้น (เพราะควบคุมขนาดความหนาบางของปากครก
ไม่ได้) และเมื่อถึงขั้นตอนเจาะขุดหลุมด้านในแล้วจะทำได้ยากเป็นเท่าตัว
กรณีการขัดผิวหินให้เรียบเมื่อก่อนจะใช้หินทราย หากเป็นด้านในจะใช้ทรายใส่ลงไปในครกแล้วตำจนกว่าผิวครกด้านในจะเรียบเสมอกัน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาหลายวันกว่าผิวจะเรียบ ปัจจุบันมีเครื่องทุ่นแรงคือ “เครื่องเจียหิน” ช่วยทุ่นแรงและเวลาได้มากส่วนเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งคือ เวลาแกะสลักครกควรแกะบนพื้นหญ้าด้วยมีแรงสะท้อนน้อยและกันกระแทกได้ดีกว่าพื้นไม้หรือปูน (เพราะมีแรงสะท้อนมากจะทำให้หินที่ถูกแรงตีแตกบิ่นได้ง่ายหรือจะทำให้มือที่แกะสลักแตกเป็นแผล)