วัดแก้วน้อย

ประวัติวัดโดยสังเขป
         ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ที่ตั้งวัดโฉนดเลขที่ ๑๐๘๖๐ และโฉนดเลขที่ ๔๔๑๒ เนื้อที่ รวม ๘ ไร่ – งาน ๘๐ ตารางวา
         ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๐๗ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
         ผูกพัทธสีมา เมื่อ วันที่ ๒๗ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘

ความเป็นมาของวัด       
         วัดแก้วน้อยเดิมเรียกวัดน้อย ปรากฏนามบนแผนที่เมืองพนัส ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นชุมชนใกล้เคียงกับชุมชนวัดโบสถ์และชุมชนวัดหลวง ชาวบ้านเล่าว่าราว ปี พ.ศ. ๒๓๔๘ มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งมาตั้งปักกลดในบริเวณที่ตรงนี้ เดิมสถานที่นี้เป็นที่ดินชาวบ้านใกล้หัวป่าช้าของวัดโบสถ์ พระภิกษุกลุ่มนี้เป็นพระที่พูดภาษาลาว โดยหลวงพ่อจวงเป็นหัวหน้าคณะ หลวงพ่อจวงองค์นี้มีวิชาอาคมที่ฉมัง ชาวบ้านจึงมักจะไปมาหาสู่กับพระกลุ่มนี้บ่อยครั้ง ชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาจึงได้มอบที่ดินและสร้างกุฏิเล็ก ๆ ถวายจนสามารถตั้งเป็นสำนักวิปัสนาเล็ก ๆ ได้ ต่อมาจึงสร้างให้เป็นวัดแต่พึ่งได้วิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕

         วัดนี้มีเจดีย์เก่าแก่ที่น่าสนใจ พระเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหน้าโบสถ์สร้างด้วยอิฐขนาดใหญ่ ชาวบ้านว่ามีมาตั้งแต่สมัย ร. ๓ – ร. ๔ แล้ว เป็นรูปทรงแบบนี้มาแต่ต้น
หรือไม่แน่ใจภายนอกกำแพงแก้วมีวิหารหลวงพ่อจวง ยอดพระเกจิฯ ผู้ก่อตั้งวัด ทางวัดและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้าง จากประวัติวัดที่บันทึกไว้ค่อนข้างมีมากกว่าที่อื่น เรื่องลำดับเจ้าอาวาสโดยเริ่มต้นจากหลวงพ่อจวงเรียงลำดับมาตลอดไม่ขาด ช่วงวัดน้อยเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดแก้วน้อยเพื่อความสละสลวยในคำเรียก วัดแก้วน้อย
มีถนนเชื่อมถึงวัดหลวงได้ จึงทำให้มีทางเข้า – ออกได้ทั้งทางฝั่งวัดโบสถ์และวัดหลวง
         วัดแก้วน้อยเป็นวัดที่เกิดมาจากชาวบ้านในท้องถิ่นมิได้เกี่ยวข้องกับเจ้าขุนมูลนายใด ๆ แต่มีความเกี่ยวข้องกับการอพยพถิ่นฐานของชาวลาวหรืออีสานในเมืองพนัสนิคม จากนั้นก็ได้มีการพัฒนามาตามลำดับ จนถึงยุคเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
         รูปที่ ๑ พระอิน                                                                  รูปที่ ๒ พระหล่อ
         รูปที่ ๓ พระทัด                                                                  รูปที่ ๔ พระเผือก
         รูปที่ ๕ พระชุน                                                                  รูปที่ ๖ พระอ่ำ
         รูปที่ ๗ พระพุฒ                                                               รูปที่ ๘ พระครูพิบูลถาวรกิจ
         รูปที่ ๙
พระครูอนุรัตนาภินันท์ พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๕๘     รูปที่ ๑๐ พระปลัดมนู ฐานจาโร พ.ศ. ๒๕๕๘ – ถึงปัจจุบัน