รายงานการประชุมคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1/2553

                                                   รายงานการประชุมคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่นข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) ครั้งที่ 1/2553
                                                                         วันที่ 26 เมษายน – 27 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                                                                                                                                                   ……………………………………………

เริ่มประชุมเวลา 08.30 น.
ดร. สุริทอง ศรีสะอาด ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวต้อนรับคณะทำงาน

วาระที่1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
             1.  เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากประธาน
                 1.1  ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ PULINET อนุมัติในหลักการให้คณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น ดำเนินงานตามโครงการพัฒนา Web Portal งานชิ้นเอกภูมิปัญญาไทย โดยให้เสนอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนา Web Portal ในส่วนของการกำหนดความต้องการในการพัฒนา (Requirement) และข้อจำกัดของขอบเขตงาน (TOR) ตามกรอบจำนวนเงินงบประมาณที่ขออนุมัติ (ตามรายละเอียดเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ PULINET คร้ังที่ 1/2553)
                 1.2  การจัดสัมมนา PULINET วิชาการคร้ังที่ 1 ประจำปี 2553 เรื่อง Creative Library วันที่24-25 มิถุนายน 2553 ประธานขอเชิญชวนสมาชิกส่งผลงานเพื่อนา เสนอในการสัมมนาที่ประชุมรับทราบ
             2.  เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากคณะทำงาน
                  2.1  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปลี่ยนชื่อโครงการศูนย์อีสานสนเทศเป็น “มุมอีสานสนเทศ” ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 และได้จัดทำฐานข้อมูลและเว็บท่าอีสานสนเทศโดยใช้โปรแกรมฟรีแวร์ KnowledgebasePublisher ในการจัดการฐานข้อมูลผู้รับบริการสามารถใช้งานฐานข้อมูลดังกล่าวได้ที่ http://lib12.kku.ac.th
                 2.2  ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                        1.  ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้มีพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้และการศึกษาไร้พรหมแดน (Learning Center) อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวัน ที่ 30 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมาโดยศูนย์การเรียนรู้และการศึกษาไร้พรหมแดน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาซึ่งมีบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้ Edutainment Zone ความรู้สู่ความบันเทิง บริการห้องสื่อเพื่อการเรียนรู้มุม Projection ห้องค้นคว้าเฉพาะกลุ่ม ห้องมินิเธียเตอร์โซน VCD DVD ห้องประชุม มุมวารสารเพื่อความบันเทิง มุมทานของว่างเพื่อการผ่อนคลาย
                        2.  ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาขยายเวลาเปิดให้บริการห้องสมุดต้ังแต่ 08.00 น.- 24.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค
                        3.  งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดโครงการจดหมายเหตุสัญจรสู่สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยได้รวมมือกับสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรในการมาจัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่เอกสารจดหมายเหตุ : ทุนทางวัฒนธรรมแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติรวมถึงความสำคัญของเอกสารจดหมายเหตุแห่งชาติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ศูนย์เรียนรู้ศุนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                        4.  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดงานวันเกษตรแห่งชาติระหว่างวันที่ 16-24 กรกฎาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยลักษณ์
                2.3  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
                       1.  งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการได้รับมอบหมายจากโครงการจัดต้ังกอง ส่งเสริมการวิจัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้เป็นคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีซึ่งฐานข้อมูลนี้มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินงาน จำนวน 11 โครงการได้แก่
                            1.1  ภูมิปัญญาการใช้ทรัพยากรประมงในแม่น้ำมูลของชาวบ้านบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง
                            1.2  การสำรวจเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตอาหารหมักพื้นบ้านในแถบอีสานใต้
                            1.3  การสำรวจการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
                            1.4  การรวบรวมข้อมูลพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
                            1.5  การศึกษาการใช้ประโยชน์จากแมลงในการดำรงชีวิตของคนในจังหวัดอุบลราชธานี
                            1.6  การสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ผลพื้นเมืองบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดใหม่
                            1.7  การศึกษารวบรวมศิลปะปูนป้ันในศาสนคารอีสานตอนล่าง
                            1.8  การทำนุบำรุงศิลปะการตกแต่งลวดลายบั้งไฟอีสาน
                            1.9  การสืบสานภูมิปัญญาผ้าทอผู้ไทยในภาคอีสาน
                            1.10  คะลำข้อห้ามจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษอีสาน
                            1.11  วัฒนธรรม ความเชื่อ พิธีกรรม ประโยชน์และข้อจำกัดของการรำผีฟ้า ผีแถน รำอ้อ รำหมอช้าง และเรือมมะม้วด ต่อการเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหวา่งบุคคลกับการรักษาโรคและสุขภาวะในชุมชนและการควบคุมสังคม กรณีศึกษา หมู่บ้านกุย (ส่วย) ลาว เขมร ในจังหวัดศรีสะเกษ
                       2.  ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจะจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การบริหารจัดการสื่อโสตทัศน์และ
โสตทัศนูปกรณ์” ในระหว่าง วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2553 ณ ห้องประชุม Lockard สำนักวิทยบริการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือผู้ปฏิบัติงานโสตทัศน์ท้ังภายในมหาวิทยาลัยสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ สนใจติดต่อเขา้ร่วมการสัมมนาไดท้ ี่ นางสาวฐิตารีย์ธงชัย ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190 โทร. 045-353140, 045-353148
                      3.  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันกีฬาบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาคร้ังที่ 29 ปี 2533 กันเกราเกมส์
ระหว่างวันที่ 1-8 พฤษภาคม 2553
                2.4  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
                       1.  มีการจัดงาน Bookfair ในเดือนมิถุนายนนี้
                       2.  แจ้งข่าวการเสียชีวติของท่านผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา
                2.5  หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรแจ้งว่า ทางสำนักหอสมุดกลางจะจัดงาน PULINET วิชาการคร้ังที่ 1 ขึ้นใน
ระหว่างวัน ที่24-25 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรมเมธาวลัย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
                2.6  สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                        1.  ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ได้ดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล “ สารสนเทศอีสานอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าใช้บริการได้ที่ http://copper.msu.ac.th/isan/
                        2.  ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร ดำเนินงานโครงการแหล่งเรียนรู้สารสนเทศทางวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม โดยรวบรวมแหล่งเรียนรู้สารสนเทศทางวัฒนธรรมของจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วัด พิพิธภณัฑ์โดยได้พัฒนาจัดทำเป็นเว็บไซต์
                        3.  สำนักวิทยบริการ มหาวทิยาลยัมหาสารคาม ได้ดำเนินกิจกรรม “โครงการห้องสมุดส่งเสริมสุขภาพ” เพื่อรณรงค์ให้บุคลากรและผู้ใช้บริการได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพท้ังร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ รวมท้้งมีสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย
น่าอยู่ กิจกรรมในโครงการประกอบดว้ย
                        1.  กิจกรรม “ สุขภาพดีไม่มีพุง”
                        2.  จัด “มุมรักษ์สุขภาพ”
                        3.  กิจกรรม “ห้องน้ำ สะอาด บรรยากาศสปา”
                        4.  จัดนิทรรศการเผยแพร่ด้านการรักษาสุขภาพ
                        5.  กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อรับรางวัลใช้หนี้ค่าปรับหนังสือล่วงเวลา
                        6.  สำนักวิทยบริการร่วมกับกองกิจการนิสิต จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเพื่อการศึกษาค้นคว้า สำหรับนิสิตและผู้ใช้บริการที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น ให้ข้าถึงและเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยจัดบริการดังนี้
                         1.  บริการเครื่องขยายภาพและตัวอักษรสำหรับนิสิตที่มีสายตาเลือนราง (เครื่อง SmartView Xtend)
                         2.  บริการโปแกรมสำหรับผู้พิการทางการมองเห็น ได้แก่
                              –  โปรแกรม TBTW หรือ Thai Braille Translation for Windows
                              –  โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader : Jaws for Windows)
                              –  โปรแกรมตาทิพย์
                         3.  บริการพิเศษในการติดสัญลักษณ์อักษรเบรลล์ที่ชั้นหนังสือ
                         4.  สำนักวิทยบริการ ได้ดำเนินการจัดระบบห้องสมุดศาลจังหวัดมหาสารคาม โดยดำเนินการจัดระบบหมวดหมู่หนังสือจัดเรียงชั้นหนังสือเพื่อ
อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล
                         5.  สำนักวิทยบริการร่วมกับเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม จัดโครงการการฝึกอบรมวิชาชีพเรื่อง “หลกัสูตรผชู้่วยบรรณารักษ”์ ให้แก่บุคลากรและ
ผู้ต้องขัง ระหวา่งวันที่ 21-23 เมษายน 2553 ณ เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม โดยให้ความรู้เรื่องการดำเนินงานห้องสมุด การคัดแยก การลงทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศการจัดหมวดหมู่หนังสือการจัดให้บริการและการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถช่วยบรรณารักษ์เจ้าหน้าที่เรือนจำ พฒันาปรับปรุงห้องสมุดเรือนจำได้ และมีความรู้ติดตัวสามารถนำ ไปปฏิบัติได้จริงหลังพ้นโทษ ซึ่งการอบรมคร้ังนี้ เป็นการอบรมรุ่นที่ 2 นอกจากนี้สำนักวิทยบริการยังได้เป็น
พี่เลี้ยงในการพฒันาห้องสมุดเรือนจำจังหวัดมหาสารคามให้เข้าสู่มาตรฐาน “ห้องสมุดพร้อมปัญญา” ซึ่งเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน
                  2.7  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา
                          1.  มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการออกนอกระบบไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและจะเปลี่ยนชื่อเป็น “มหาวิทยาลัยสิรินธร” ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้
                          2. สำนักหอสมุด เปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากเดิมระบบ INNOPAC ไปเป็นระบบ ALIST (Automated Library System for Thai Higher Education Institutes) ขณะนี้อยู่ในระหวา่งรอให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่มาดำเนินการอบรมการใช้งาน
ที่ประชุมรับทราบ

วาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุม คร้ังที่ 2/2552
                ประธานเสนอให้ที่ประชุมพิจารณารับรองรายงานการประชุม คร้ังที่ 2/2552 มีรายการแก้ไขดังนี้
                หน้าที่ 1   รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ข้อ 4 แกไขคำ สำนักวิทยาบริการเป็น สำนักวิทยบริการ
                หน้าที่ 2  รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ข้อ 15 แกไขคำ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็น ฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาและแกไขจากคณะทำงาน เป็น ผู้เข้าร่วมประชุม
                หน้าที่ 2  รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ข้อ 16 แกไขคำ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็น ฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

วาระที่ 3  เรื่องสืบเนื่อง
               3.1  คู่มือการใช้บริการสารสนเทศท้องถิ่น ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) นางพรพิมล มโนชัย ขอหารือในการจัดทำ คู่มือดังกล่าวขอเสนอว่า ให้เปลี่ยนจากจัดทำเป็นแบบรูปเล่ม ไปเป็นการเชื่อมโยงไว้บนเว็บไซต์ของคณะทำงานแทน เนื่องจากข้อมูลเปลี่ยนแปลงเร็วมากและไม่ทันสมัย ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาและมีมติเห็นด้วยกับการ upload คู่มือไว้บนหน้าเว็บไซต์ของคณะทำงาน ซึ่งข้อมูลต่างๆ นั้นได้ส้่งให้คณะทำงานเทคโนโลยีสารสนเทศของ PULINET ดูรายละเอียดเบื้องตนแล้ว ส่วนงบประมาณในการจัดทำ คู่มือจำนวน 27,000 บาท ทางคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่นจะทำเรื่องส่งคืนต่อไป
               3.2  การประเมินความพึงพอใจการใช้ฐานข้อมูลท้องถิ่นบนอินเทอร์เน็ตประธานเสนอว่า การประเมินความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูลตามแบบประเมินนั้น
ให้แต่ละสถาบันประเมินฐานข้อมูลของแต่ละสถาบันเอง เป็นโดยไม่ต้องประเมินในแบบภาพรวมเพราะเนื่องจากบางสถาบันยังไมได้บันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล
ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาและสรุปว่า หากสถาบันใดต้องการประเมินให้ใช้แบบประเมินของคณะทำงานเป็นต้นแบบ
               3.3  โครงการการศึกษาดูงานประธานแจ้งว่า โครงการการศึกษาดูงานที่ นางสาววรารักษ์ พัฒนเกียรติพงศ ผู้แทนจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย เชียงใหม่รับไปจัดทำ โครงร่างของโครงการนั้นได้ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้ปรึกษา ดร. ม.ร.ว.รุจยา อาภากร ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งแนะนำ
สถานที่ดูงานตามรายละเอียดโครงการศึกษาดูงานตามเอกสารที่ได้แจกให้แล้ว ซึ่งประธานพิจารณาว่า น่าจะเพิ่มการดูงานที่หลวงพระบางอีกแห่งหนึ่งด้วย ส่วนเส้นทางการเดินทางมีทั้งสิ้น 6 เส้นทางและได้สั่งโปรแกรมการศึกษาดูงานไปให้บริษัท ทัวร์เพื่อเสนอราคาค่าใช้จ่ายต่างๆ และแจ้งเพิ่มเติมว่า ทางสำนักหอสมุด
มหาวทิยาลัยเชียงใหม่ได้แ้จ้งมาทางอีเมล์ว่า หากคณะทำงานพิจารณาแล้วว่า ไม่เห็นด้วยประการใด ก็สามารถปรับเปลี่ยนไปศึกษาดูงานยังสถานที่อื่นได้ที่ประชุมร่วมกัน พิจารณาดังนี้
          –  นางนายกิา เสนอวา หากไปศึกษาดูงานที่ประเทศ ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอาจมีปัญหาในการกลับมาทำงานเพื่อต่อยอด หรือการเสนอประเด็นกับผู้บังคับบัญชา
          –  ประธานเสนอวา่ หากคณะทา งานท่านใด ไม่ประสงคท์ ี่จะไปศึกษาดูงานที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้น าเสนอโครงการใหม่พร้อมรายละเอียดต่างๆ มาเพื่อพิจารณาในการประชุมคร้ังต่อไป ซ่ึงจะตอ้งไดข้อ้ สรุปที่แน่นอนเพื่อเสนอคณะกรรมการอ านวยการต่อไป
              3.4  ฐานข้อมูลสารสนเทศทอ้งถิ่นบนอินเทอร์เน็ตจากการอบรมการลงรายการในฐานข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต คณะท างานได้พิจารณาเกี่ยวกบั

การสา รองข้อมูลและการลงทะเบียนเว็บไซต์ นายสมพงษ์ เจริญศิริ รับไปตรวจสอบพ้ืนที่ในเครื่องแม่ข่ายของPULINET หากมีพ้ืนที่เพียงพอจะทา การสา รองขอ้มูลไปไวใ้นเครื่องแม่ข่ายของPULINET โดยจะแจง้วธิีการสา รองขอ้ มูลใหท้ ราบต่อไป
           3.5  เว็บไซต์คณะทำงานข้อมูลท้องถิ่นที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นควรให้คณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อพฒันาเว็บไซต์ และ Web Portal ดำเนินการแกไขและปรับปรุง โดยประสานงานกับคุณสมพงษ์ เจริญศิริ ส่วนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละสถาบัน ให้แต่ละสถาบันเข้าไปแก้ไขปรับปรุงเอง
           3.6  ฐานข้อมูล Web Portal งานชิ้นเอกภูมิปัญญาไทยที่ประชุมพิจารณาร่วมกบั คุณสมพงษ์ เจริญศิริผ พู้พัฒนาฐานข้อมูล ในส่วนขอบเขต
เนื้อหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้คณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อพฒันาเว็ไซต์ และ Web Portal ดำเนินการแกไขและปรับปรุง เมื่อฐานข้อมูลพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้วว

วาระที่ 4  เรื่องพิจารณา
                4.1  แผนการดำเนินงานของคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่นระยะ 2 ปี (2553-2554)
                      4.1.1  กำหนดการประชุมคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น 4 เดือนต่อ 1 คร้ัง หรือปีละ 3 คร้ัง ซึ่งคร้ังนีัถือว่าเป็นการประชุมคร้ังที่ 1 ของปี งบประมาณ 2553
                      4.1.2  กิจกรรมของปีงบประมาณ 2553 จะเน้นโครงการ Web Portal เป็นหลัก ซึ่งคงจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการกิจกรรมนี้ประมาณ 1-2 ปีหลังจากนั้นอาจนำเสนอกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันของทุกสถาบัน ใน Web Portal

วาระที่ 5  เรื่องอื่นๆ
              5.1  กำหนดการประชุมคณะทำงานขอ้มูลทอ้งถิ่นคร้ังต่อไป ที่ประชุมกำหนดการประชุมประมาณเดือนสิงหาคม 2553 สถานที่จัดการประชุมคือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา
              5.2  วันที่ 27 เมษายน 2553 ฝึกอบรมและฟังบรรยาย ตามรายละเอียดดังนี้
                     8.30-12.00 น. อบรมการลงรายการในฐานข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต โดยคุณ ณัฐพร เดชชัย จากสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                    13.00-16.30 น. ฟังบรรยายและสาธิตการบริหารจัดการเว็บไซต์ข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) ในส่วนของคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น และสาธิตการทำงาน
Web Portal โครงการ Web Portal ชิ้นเอกภูมิปัญญาไทยโดยคุณสมพงษ์เจริญศิริ ประธาน คณะทำงานเทคโนโลยีฯ ข่ายงานห้องสมุดมหาวทิยาลัยส่วนภูมิภาค