ประเพณีกองข้าว เทศบาลเมืองศรีราชา เป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อๆ กันมาตามประวัติ เล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อำเภอเมืองชลบุรีอำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไปที่ศรีราชายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่นจนกระทั่งกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มแต่ปี ๒๕๓๖ เป็นต้นมา
โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายนของทุกปี ในอดีตเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ศรีมหาราชาของทุกปีชาวบ้านจะนัดหมายกันมานำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันและเชิญภูตผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่มาทำอันตรายชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเองหลังพิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันมีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสานมีเคล็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เป็นทานแก่สัตว์การจัดงานประเพณีกองข้าวเป็นการสนับสนุนส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น ปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีราชาได้ผนวกงานสงกรานต์เข้ารวมเป็นงานเดียวกัน และให้ชื่อว่า “งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมรณรงค์ให้เด็กเยาวชนและประชาชน ได้เกิดจิตสำนึกในความเป็นคนไทยที่มีเอกลักษณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกายที่ดี ให้ดำรงสืบทอดต่อไปและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยด้วย
สำหรับการจัดงานเทศบาลเมืองศรีราชาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จังหวัดชลบุรีอำเภอศรีราชา สภาวัฒนธรรมอำเภอศรีราชาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน พ่อค้าประชาชนชาวศรีราร่วมกันจัดกิจกรรม อาทิเช่นการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาคต่างๆ และท้องถิ่นโดยเน้นการแสดงด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายและสื่อถึงความเป็นไทยที่อ่อนช้อยสวยงามอาทิเช่น มวยตับจาก เป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากมี
การปลูกต้นจากเป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไปด้วยเหตุที่ป่าจากลดน้อยลง รำวงย้อนยุค ตะกร้อลอดบ่วง ขนมพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง การจัดพิธีกองข้าว บวงสรวง การประกวดแห่รถประเพณีกองข้าว อื่นๆ อีกมากมาย เช่น
มวยตับจาก มวยตับจากเป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชลบุรี เพราะเนื่องจากในอดีตมีการปลูกต้นจากเป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไปด้วยเหตุที่ป่าจากมีการปลูกลดน้อยลงไป
รำวงย้อนยุค การกลับมาอีกครั้งของรำวงด้วยกระแสตระหนักแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และการอนุรักษ์ความเป็นไทยเทศบาลเมืองศรีราชา จึงได้นำการแสดง “รำวง” กลับมาอีกครั้ง ในรูปแบบของ “รำวงย้อนยุค” ในงานประเพณีกองข้าวปี ๒๕๔๑ ในรูปแบบที่เน้นเอกลักษณ์ของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ เมษายนเชิญทุกท่านร่วมสืบสานความเป็นไทยกับการแสดง “รำวงย้อนยุค” ในงานประเพณีกองข้าวจุดเด่นของรำวงอยู่ที่นางรำ ซึ่งเป็นจุดสนใจให้บรรดาผู้ชมซื้อตั๋วเข้ามารำวงกับคณะนางรำที่มีรูปร่างหน้าตาดี และมีการติดตามคณะรำวงที่ตนสนใจไปตามงานต่างๆ ทำให้เกิดการเขม่นกับทางเจ้าถิ่นด้วยสาเหตุนี้ทำให้เกิดการแย่ง “นางรำ” กันขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทจนยากแก่การควบคุมทำให้ทางราชการต้องสั่งยกเลิก ห้ามมีการแสดงรำวงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ตะกร้อลอดบ่วง เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการใช้อวัยวะของร่างกายเป็นท่าทางในการเล่นตะกร้อให้เข้าบ่วง เป็นการอนุลักษณ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิต่อไป
การปีนเสาน้ำมัน เป็นการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการใช้อวัยวะของร่างกายเป็นท่าทางในการเล่นตะกร้อให้เข้าบ่วง เป็นการอนุลักษณ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิต่อไป
ข้อมูลจาก: ศูนย์ข้อมูถิ่นภาตตะวันออก