ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือก่อนออกพรรษา ๑ วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็น สัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อน มาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า หากปีใดไม่มีการวิ่งควายปีนั้นควายจะเป็นโรคระบาดกันมากส่วนใหญ่งานประเพณีวิ่งควาย จัดงานในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี และอำเภอบ้านบึง เดิมมีแต่คนในท้องถิ่นรู้จัก แต่ในปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในอดีตประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีวิ่งควายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่ว่าถ้าควายของ ใครเจ็บป่วย เจ้าของควายควรจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ และเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำ ควายมาวิ่งแก้บน ฉะนั้น ในปีต่อๆ มาชาวบ้านก็นำควายของตนมาวิ่งเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเสียแต่เนิ่นๆ ส่วนความเชื่อในทางศาสนาพุทธนั้น เกิดจากการที่ชาวบ้านมา ชุมนุมกัน ที่วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี เพื่อนำเครื่องกัณฑ์ใส่ ควายเทียมเกียวนมาพักที่วัด เพื่อจะรอการติดกันเทศน์ในเทศกาล เทศน์มหาชาติ ขณะที่รอเด็กเลี้ยงควายต่างก็นำควายของตนไปอาบ น้ำที่สระบริเวณวัด เมื่อต่างคนต่างพาควายของตนไปก็เกิดมีการประลองฝีเท้าควายเกิดขึ้น เพื่อทดสอบสุขภาพความแข็งแรงกันการแข่งขัน ในระยะแรกๆจึงเป็นเพียงการบังคับควายขณะ วิ่งในระยะที่กำหนด และห้ามตกจากหลังควาย ต่อมาจึงเชื่อว่าการวิ่งควายได้มีการพัฒนา ขึ้นเรื่อยๆ มีการวิ่งรอบตลาด เมื่อถึงเทศกาลก่อนออกพรรษา ๑ วัน ชาวบ้านร้านตลาดต่างก็จะรอดูควายที่มาวิ่งมีการ ตกแต่งควายให้สวย งามและวิจิตรบรรจงมากขึ้นจนกลายเป็นประเพณีวิ่งควาย