มุม Buu Green library สำนักหอสมุดจัดทำ มุม Buu Green library เพื่อรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน โดยนำเสนอแบบหมุนเวียน ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการที่ชั้น 3 นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำข่าวสารสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของสำนักหอสมุด
Year: 2022
ปุ๋ยเปลือกไข่ ทำเองง่ายๆ ลดการใช้สารเคมี สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดทำปุ๋ยเปลือกไข่ เพื่อไว้ใช้ในสำนักหอสมุด โดยเล็งเห็นประโยชน์ของเปลือกไข่ที่เป็นขยะจากการจำหน่ายอาหารของร้านค้าสำนักหอสมุด ที่มีเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเปลือกไข่นั้นสามารถแปรรูปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่จะช่วยบำรุงต้นไม้ เพราะเปลือกไข่นั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุแคลเซียมที่เป็นประโยชน์กับต้นไม้ในการช่วยการเจริญเติบโต และเมื่อนำไปผ่านความร้อนก็จะเกิดกำมะถันที่เป็นตัวช่วยขับไล่แมลงและหอยทากที่มากัดกินต้นไม้ได้ นอกจากปุ๋ยเปลือกไข่จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้สำนักหอสมุดประหยัดงบประมาณในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารกำจัดแมลงอีกด้วย ขั้นตอนการทำปุ๋ยเปลือกไข่ 1. นำเปลือกไข่ที่ไปตากแดดให้แห้งสนิท ตำหรือทุบให้ละเอียด 2. นำเปลือกไข่ที่ตำหรือทุบให้ละเอียดแล้วนั้นไปหมักกับปุ๋ยหรือดิน 3. ในการขับไล่แมลง ให้นำเปลือกไข่ไปล้างน้ำให้สะอาด นำเข้าไมโครเวฟ 1-2 นาที เพื่อฆ่าเชื้อ จากนั้นตำหรือทุบให้ละเอียด แล้วนำไปโรยตามแปลงหรือกระถางต้นไม้ วิธีใช้ปุ๋ยเปลือกไข่ 1. ใส่บริเวณโคนต้นได้โดยตรงปริมาณ 1 ช้อนชา โดยประมาณต่อกระถาง 3 นิ้ว 2. ใช้ผสมดินปลูกเพื่อช่วยเพิ่มแร่ธาตุ หรือใช้ผสมกับปุ๋ยอย่างอื่นเพื่อทำเป็นปุ๋ยหมัก 3. รดใช้ผสมน้ำไว้ 1 คืน แล้วนำมารดโคนต้นน้ำจะช่วยดึงประสิทธิภาพการไล่แมลง 4. นำเปลือกไข่ที่ผ่านความร้อนบดให้ละเอียดจนเป็นผง แล้วนำไปโรยรอบๆ ตามแปลงหรือกระถางต้นไม้เพื่อขับไล่แมลงและหอยทาก
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเลี้ยงไส้เดือนดิน” นายเหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวเปิดโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการ “การเลี้ยงไส้เดือนดิน” เพื่อพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย: U2T) ในการเลี้ยงไส้เดือนดินนั้นจะสามารถผลิต ปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดินซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพืช ลดการปุ๋ยเคมีในการปลูกพืช อันจะนำไปสู่การผลิตพืชที่ปลอดภัยทั้งตัวเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหลวงพรหมาวาส วิทยากรและบุคลากรจากศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงบ้านครูหลาน เข้าร่วมโครงการและร่วมส่งมอบศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน ณ โรงเรียนวัดหลวงพรหมาวาส ตำบลวัดหลวง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564
โครงการ “รักษ์โลก….รักทะเล” อาจารย์เหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด และบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ และผลงานเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดกิจกรรมแนะนำหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมขยะแลกต้นไม้ และเกมคัดแยกขยะกันเถอะ ในโครงการ “รักษ์โลก….รักทะเล” ณ ชายหาดบางแสน ซึ่งจัดโดยเทศบาลเมืองแสนสุข และบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น.
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อนที่แสนดีของสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดทำจุลินทรีย์์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria: PSB) เพื่อไว้ใช้สำนักหอสมุดและจำหน่ายในโครงการห้องสมุดสีเขียว โดยเล็งเห็นประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ได้แก่ การช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับพืช, เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า, ทำให้รากพืชแข็งแรง และหาอาหารได้ดีขึ้น, ช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย, ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชและช่วยลดสภาวะโลกร้อน โดยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเข้าไปทำลายและย่อยสลายกลุ่มก๊าซมีเทน ที่มีอยู่ในดิน ทำให้โครงสร้างของก๊าซมีเทนเสียไป ให้เหลือแต่ธาตุคาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ วิธีใช้จุลินทรีย์์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria: PSB) 1. อัตราส่วนผสม ใช้จุลินทรีย์์สังเคราะห์แสง 100 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร โดยค่อย ๆ เทจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงลงไปในน้ำเปล่าในภาชนะที่จะใช้ผสม สังเกตว่าน้ำเริ่มเปลี่ยนจากสีเข้มเป็นสีชมพูจางๆ เป็นอันนำไปใช้ได้ 2. …
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อนที่แสนดีของสิ่งแวดล้อม Read More »
การจัดการขยะ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา การจัดการขยะถือเป็นเป้าหมายด้านหนึ่งที่มีความสำคัญในแผนดำเนินงาน SDGs 2030 โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในเรื่องของเมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน (SDG 11) การบริโภคและ การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 12) และการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีการดำเนินการจัดการขยะประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักหอสมุด มีการกำหนดแผนงานการควบคุมดูแลการจัดการขยะ ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยก ขยะ ทำป้ายประชาสัมพันธ์การทิ้งขยะ การคัดแยกขยะ และจัดทำป้ายที่ถังขยะเพื่อแยกประเภทขยะเป็น 4 ประเภท ได่แก่ 1) ขยะทั่วไป คือ ขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น เศษหนัง เศษผ้า ซองขนม 2) ขยะเปียก คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้ 3) ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่ยังมีประโยชน์ สามารถนำกลับไป แปรรูปใหม่ได้ …
สำนักหอสมุดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการถ่ายทอดความรู้ของโครงการห้องสมุดสีเขียว สำนักหอสมุดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการถ่ายทอดความรู้ของโครงการห้องสมุดสีเขียว เพื่อให้บุคลากรทราบแนวทางและนโยบายในการดำเนินงานโครงการห้องสมุดสีเขียว ให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการเป็นห้องสมุดสีเขียว รวมถึงเพื่อจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในส่วนของพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่ให้บริการ รวมทั้งลดการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สำนักหอสมุด
Solar Cell “โซลาร์เซลล์” พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด สำนักหอสมุด ได้รับการจัดสรรแผงโซลาร์เซลส์ สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนภาระกิจของสำนักหอสมุด จำนวนทั้งสิ้น 95 แผง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 30.72 KWp. ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีและสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเริ่มดำเนินการติดตั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2563 จนถึงปัจจุบันสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 203,246.03 บาท นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ ภาวะโลกร้อนและภาวะเรือนกระจก อันเกิดจากการใช้พลังงานในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลกเป็นวงกว้าง พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานสะอาดที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้หมุนต่อไปได้อย่างยั่งยืน
โครงการ Big Cleaning Day “มุ่งมั่น พัฒนา ก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว” อาจารย์เหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด และบุคลากร ร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบสำนักหอสมุดให้มีความร่มรื่น สวยงาม มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเป็นการส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการของสำนักหอสมุด ในโครงการ Big Cleaning Day “มุ่งมั่น พัฒนา ก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565