จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อนที่แสนดีของสิ่งแวดล้อม

                     สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดทำจุลินทรีย์์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria: PSB) เพื่อไว้ใช้สำนักหอสมุดและจำหน่ายในโครงการห้องสมุดสีเขียว โดยเล็งเห็นประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ได้แก่ การช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับพืช, เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า, ทำให้รากพืชแข็งแรง และหาอาหารได้ดีขึ้น, ช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย, ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชและช่วยลดสภาวะโลกร้อน โดยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเข้าไปทำลายและย่อยสลายกลุ่มก๊าซมีเทน ที่มีอยู่ในดิน ทำให้โครงสร้างของก๊าซมีเทนเสียไป ให้เหลือแต่ธาตุคาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ


วิธีใช้จุลินทรีย์์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bacteria: PSB)

1. อัตราส่วนผสม ใช้จุลินทรีย์์สังเคราะห์แสง 100 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร โดยค่อย ๆ เทจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงลงไปในน้ำเปล่าในภาชนะที่จะใช้ผสม สังเกตว่าน้ำเริ่มเปลี่ยนจากสีเข้มเป็นสีชมพูจางๆ เป็นอันนำไปใช้ได้
2. ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบหรือราดโคนต้น ซึ่งการราดโคนต้นจะได้ผลดีกับพืชมากที่สุด
3. รดหรือฉีดพืช 7 วันต่อครั้ง หรือ 14 วันต่อครั้ง โดยให้สังเกตว่าดินบริเวณที่ปลูกพืชนั้นมีความชื้น ที่เหมาะสมหรือไม่ ไม่แห้งไป ไม่เปียกไป เพราะ PSB และแบคทีเรียทั่วๆ ไปจะอาศัยและมีชีวิตได้ดีในดินที่มีความชื้นเปียกพอเหมาะ ถ้าดินชื้นเปียกกำลังดีก็รด 14 วันต่อครั้ง หรือถ้าดินแห้งก็รดถี่ขึ้น

คุณประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งแล้ว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงยังเหมาะกับการนำมาใช้ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เนื่องจากจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถทำเองได้โดยง่าย มีราคาถูก และช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นอีกด้วย