เกณฑ์การประเมิน |
ผลการดำเนินงาน |
หลักฐาน |
หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว |
1. มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI) |
สำนักหอสมุดมีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม โดยมีการรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า จำแนกเป็นรายเดือนของแต่ละปี และนำมาประเมินประสิทธิภาพของการใช้ ซึ่งผลการประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้าสามารถนำข้อมูล มาวิเคราะห์และจัดทำมาตรการการใช้พลังงานไฟฟ้าของปี พ.ศ. 2564 โดยมีการกำหนดตัวชี้วัด คือ การลดลงของการใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบกับปี 2563 เป้าหมายร้อยละ 5 ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง คิดเป็นร้อยละ 56.41 (8.1-1) และ ปี พ.ศ. 2565 มีการกำหนดตัวชี้วัด คือ การลดลงของการใช้พลังงานไฟฟ้า เทียบกับปีก่อน (คือ ปี 2560, 2561, 2562) เป้าหมายร้อยละ 6 ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง คิดเป็นร้อยละ 69.92 (ไตรมาสที่ 1-2) |
|
2. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นํามา Reuse, Recycle เพิ่มขึ้น |
สำนักหอสมุดดำเนินการจัดการขยะ โดยมีการคัดแยกขยะ กำหนดจุดคัดแยกขยะ (8.2-1) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะตามแบบฟอร์มที่กำหนด (8.2-2) โดยแม่บ้านผู้รับผิดชอบดูแลในแต่ละชั้น จะนำขยะประเภทรีไซเคิลมาจัดเก็บ เพื่อส่งจำหน่าย และนำกลับมาใช้ใหม่ (8.2-3) ในส่วนที่ส่งกำจัด จะนำมาชั่งและบันทึกในแบบฟอร์ม ก่อนนำไปทิ้งในจุดที่กำหนดของมหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักหอสมุดมีแผนการจัดการขยะ โดยมีตัวชี้วัดคือการลดลงของปริมาณการเกิดขยะในพื้นที่ เป้าหมายร้อยละ 5 ปี พ.ศ. 2564การลดลงของปริมาณขยะ คิดเป็นร้อยละ 40.33 (8.2-4) และปี พ.ศ. 2565 การลดลงของปริมาณการเกิดขยะในพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 49.63 (8.2-5) |
|
3. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการนํ้าเสีย |
สำนักหอสมุดมีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่เป็นบ่อบำบัดรวมของมหาวิทยาลัย ทั้งยังดำเนินการจัดการน้ำเสีย โดยมีการติดตั้งถังดักไขมันเพื่อดักไขมันที่ชำระล้างจากภาชนะเศษอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดน้ำเน่าเสียและท่อน้ำอุดตัน โดยมีการตักไขมันและทำความสะอาดถังเป็นประจำทุกสัปดาห์ (8.3-1) และมีแผนเก็บข้อมูลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเป็นรายปี (8.3-2) และนำน้ำจากสระมารดน้ำต้นไม้ (8.3-3) นอกจากนี้มีการกำหนดมาตรการประหยัดน้ำ(8.3-4) โดยปี พ.ศ. 2564 มีการกำหนดตัวชี้วัด คือ การลดลงของการใช้น้ำเทียบกับปี 2563 เป้าหมายร้อยละ 5 คิดเป็นร้อยละ 40.00 (8.3-5) และ ปี พ.ศ. 2565 มีการกำหนดตัวชี้วัด คือ การลดลงของการใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบกับปีก่อน (คือ ปี 2560, 2561, 2562) เป้าหมายร้อยละ 6 ปริมาณการลดลงของการใช้น้ำ คิดเป็นร้อยละ 64.87 (ไตรมาสที่ 1-2) (8.3-6) |
|
4. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับ สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จํานวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น |
สำนักหอสมุดได้รับการประเมินคุณภาพจุลินทรีย์ในอากาศของอาคารสำนักหอสมุด โดยนิสิตภาคจุลชีววิทยาทำการศึกษาปริมาณราและแบคทีเรีย ในอากาศช่วงเวลาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้จานอาหาร เลี้ยงเชื้อ TSA เปิดฝาทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เพื่อศึกษาปริมาณแบคทีเรียในอากาศ จากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง และตรวจนับโคโลนีที่เกิดขึ้น ตรวจสอบลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้จานอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA เปิดฝาทิ้งไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมงเพื่อศึกษาปริมาณราในอากาศ จากนั้นนำไปบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 5-7 วัน และตรวจนับโคโลนีที่เกิดขึ้น ตรวจสอบสัณฐานวิทยาของราภายใต้กล้องจุลทรรศน์ด้วยวิธี wet mount สรุปผลการทดลองพบว่า มีปริมาณของราและแบคทีเรียที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเกณฑ์ดัชนี การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศ พบว่า อากาศในอาคารสำนักหอสมุดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี – ดีมาก (8.4-1) และสำนักหอสมุดมีการจัดการมลพิษทางอากาศทั้งภายนอกและภายในสำนักหอสมุด โดยมีการปรับปรุงพื้นที่สีเขียวด้านหน้าและด้านข้างอาคาร (8.4-2) และมีการจัดให้มีบุคลากรรับผิดชอบดูแล และมีการล้างระบบเครื่องปรับอากาศ 1 ครั้งต่อปี |
|
5. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการ ก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตปริ้นองค์กรต่อจํานวนผู้มารับบริการ เป็นต้น |
สำนักหอสมุด ยังไม่ได้มีการบันทึกปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของปี พ.ศ. 2564-2565 แต่มีการคำนวณค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรของสำนักหอสมุด ปี พ.ศ. 2565 มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 991.97 kgCO2e แบ่งตามขอบเขตประเภทที่ 1 เท่ากับ 7.96 ประเภทที่ 2 เท่ากับ 376.79 และประเภทที่ 3 เท่ากับ 607.22 (8.5-1) |
|
6. มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบความรู้
หรือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ที่ผ่านการทดสอบความรู้ |
สำนักหอสมุดประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียวดังนี้
1. โครงการถ่ายทอดความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว ปี 2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สำนักหอสมุด จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 41 คน ร้อยละของความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 64.80 (3.24) และร้อยละของความรู้ ความเข้าใจ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 84 (4.20) ระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 89.20 ระดับมาก (4.46) (8.6-1)
2. โครงการถ่ายทอดความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว โดยวิทยากร ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ประธานกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 49 คน ร้อยละของความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 56 (2.80) และร้อยละของความรู้ ความเข้าใจ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 76 (3.80) ระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 81.2 ระดับมาก (4.06) (8.6-2)
3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมอพยพหนีไฟ โดยวิทยากรจากงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต. สำนักบก จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 สำนักหอสมุด จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 47 คน ร้อยละของความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการอบรมคิดเป็นร้อยละ 68.60 (3.43) และร้อยละของความรู้ ความเข้าใจ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 88.60 (4.43) ระดับความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 94 ระดับมาก (4.70) (8.6-3) |
|