เกณฑ์การประเมิน |
ผลการดำเนินงาน |
หลักฐาน |
หมวดที่ 6 บทบาทของบุคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
1. มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุดรวมทั้ง รับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และ เสนอให้คณะกรรมการประจําหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ
ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากร ผู้รับบริการและผู้ประกอบการ |
สำนักหอสมุดมีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (6.1-1) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดเขียว (6.1-2) กำหนดบทบาทของผู้บริหาร บุคลากร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมและตระหนักในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว 8 หมวด รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ต่อคณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุดและคณะกรรมการประจำสำนักรับทราบ สำนักหอสมุดมีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ชี้แจงบทบาทและนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากร ผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ทั้งทางออนไลน์และเอกสาร โดยมีช่องทางการประชาสัมพันธ์ ดังนี้ เว็บไซต์, จดหมายข่าว, การติดป้ายประชาสัมพันธ์ภายในสำนักหอสมุด (6.1-3) |
6.1-1 แผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2563-2565
|
2. มีแผนงานและดําเนินแจ้งบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรมที่หน่วยงานจัด หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือ สิ่งแวดล้อม และกําหนดภาระงานให้บุคลากร มีส่วนร่วม ดําเนินงานในการจัดกิจกรรม และ/หรือ การให้บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม |
สำนักหอสมุดกำหนดแผนพัฒนาบุคลากร โดยให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาและอบรมหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหรือสิ่งแวดล้อม และกําหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ปี พ.ศ. 2563 โครงการ หอสมุดร่วมใจ ทำความสะอาดใหญ่
ต้านภัย COVID-19 (6.2-1)
ปี พ.ศ. 2564
1. โครงการถ่ายทอดความรู้ของโครงการห้องสมุดสีเขียว (6.2-2)
2. อบรมการเลี้ยงไส้เดือนดิน (6.2-3)
ปี พ.ศ. 2565
1. โครงการถ่ายทอดเพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว (6.2-4)
2. โครงการ Big Cleaning Day (6.2-5)
3. โครงการดับเพลิงและอพยพหนีไฟ (6.2-6)
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้เข้าร่วมอบรมและกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานอื่น ๆ อีกด้วย |
|
3. มีแผนงานและดําเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ดําเนินการในอาคารห้องสมุด หรือ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกําหนด |
สำนักหอสมุดมีแผนงานและดำเนินการจัดทำประกาศเรื่องนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (6.3-1) กำหนดมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า น้ำ และการจัดการขยะ (6.3-2) และแนวปฏิบัติในการจัดทำความสะอาดในสำนักหอสมุดตามเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term ofReference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกําหนด ได้แก่ พนักงานทำความสะอาด คนสวน ผู้จัดการบริษัท/ ร้านจำหน่ายหนังสือ
นอกจากนี้ ได้ดำเนินการแจ้งให้ผู้ประกอบการหรือบริษัทที่เข้ามาดำเนินการภายในสำนักหอสมุดรับทราบ และให้ความร่วมมือใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งในปี พ.ศ. 2564 และ 2565 มีการแจ้งให้หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินกิจกรรม ในรูปการว่าจ้าง TOR จำนวน 3 บริษัทคือ
1. บริษัท ซี วี เอส พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส จำกัด (บริษัททำความสะอาด) (6.3-3)
2. บริษัท มิตซูบิชิ เอลเลเวเตอร์ (บริษัทบำรุงรักษาลิฟต์)
(6.3-4)
3. บริษัท เจ บี บี เอส เทคโนโลยี จำกัด (บริษัทบำรุงรักษาลิฟต์) (6.3-5) |
|
4. มีแผนงานและดําเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม |
สำนักหอสมุดมีแผนงานและดำเนินการแจ้งให้ผู้รับ บริการรับทราบตามประกาศสำนักหอสมุด เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และนโยบายห้องสมุดสีเขียว (6.4-1) เพื่อสร้างจิตสำนึกและขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยได้มีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อการรณรงค์ชี้แจงข่าวสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ผ่านช่องทางในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การติดบอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์ สติกเกอร์ป้ายประหยัดไฟฟ้า น้ำ โปสเตอร์ เสียงตามสาย และจดหมายข่าว (6.4-2, 6.4-3, 6.4-4, 6.4-5) |
|