สรุป เทคนิคการทำวิจัยภายในหน่วยงาน
เทคนิคการทำวิจัยภายในหน่วยงาน
จากยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย จึงทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของหน่วยงานให้มุ่งเน้นด้านการวิจัยภายในหน่วยงานของตนเอง เพื่อให้สนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่อไป จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้หัวข้อ “เทคนิคการทำวิจัยภายใจหน่วยงาน” สรุปประเด็นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดังนี้
1. การกำหนดหัวข้อเพื่อทำการวิจัยสถาบัน ต้องมีความกระชับ ชัดเจน มีหลักในการเลือกดังนี้
1.1 หัวข้อที่ผู้วิจัยสนใจทำวิจัย อาจเป็นเรื่องทั่วไปทั้งภายในและภายนอกสำนักหอสมุดก็ได้ ที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีประโยชน์
และสามารถนำผลของการวิจัยมาใช้ประโยชน์ได้
1.2 หัวข้อเกี่ยวข้องกับภาระงานประจำของผู้วิจัย โดยกำหนดจากภาระงานหลักที่เป็นปัญหา
และต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานประจำ
1.3 หัวข้อที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานในบางช่วงเวลาของผู้วิจัย เช่น การปฏิบัติหน้าที่ล่วงเวลาในฝ่ายอื่น ๆ แล้ว
นำประสบการณ์นั้นมากำหนดประเด็นหัวข้อทำวิจัย
2. การค้นหาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ผู้วิจัยต้องศึกษาเอกสาร ตำรา บทความ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ทำวิจัย โดยศึกษา
จากแหล่งต่าง ๆ เช่น เว๊บไซต์ เช่น TDC ฐาน สกอ. Digital collection งานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
บทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเขียนเอกสารประกอบ
2.2 สัมภาษณ์จากผู้มีประสบการณ์
3. การอ่านเอกสารทั้งหมดที่ค้นคว้ามาเพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ต้องทำการวิจัย และนำมาซึ่งการกำหนดเป้าหมาย
และกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนเครื่องมือใช้ในการวิจัย เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ หรือ แบบสัมภาษณ์ ของการวิจัยในครั้งนี้
4. การนำความรู้จากการอ่านเอกสาร ตำรา บทความ หรืองานวิจัยทั้งหมดมาเขียนเป็นเค้าโครงการวิจัย โดยประกอบด้วย
บทที่ 1 บทนำ ต้องกำหนดกรอบประเด็นความเป็นมาให้ชัดเจน วัตถุประสงค์ ขอบเขต
การศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย และนิยายศัพท์เฉพาะ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเอกสารที่ได้ศึกษาค้นคว้าทั้งหมดมาประมวล
เขียนตามความเข้าใจของผู้วิจัย และอ้างอิงให้ชัดเจนเป็นปัจจุบันตามแบบของการเขียนรายการอ้างอิงทุกรายการ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย เขียนให้เห็นขั้นตอนการดำเนินอย่างชัดเจนว่าทำอะไรบ้าง และมีแบบสอบถาม
แบบสำรวจ หรือแบบสัมภาษณ์อย่างไร เพื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและดูความถูกต้องเรียบร้อย ตลอดจนหาความเชื่อมั่น
ของเครื่องมือก่อนนำไปดำเนินการวิจัยจริง
5. การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย นำข้อมูลของแบบสอบถาม แบบสำรวจ หรือแบบสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ แปรผล และอภิปรายผล นำผลที่ได้จากการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป