เทคนิคการทำวิจัยภายในหน่วยงาน วันที่ 9 ธันวาคม 2553

เทคนิคการวิจัยภายในหน่วยงาน วันที่ 9 ธันวาคม 2553

ผู้เล่า : คุณอุฬาริน เฉยศิริ
C : ประสบการณ์การทำวิจัยห้องสมุด
A : 1. ดูความสนใจในเรื่องที่จะทำ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากร
2. เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับงานที่ทำ เช่น เลือกทำเรื่องเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศบนเว็บไซต์ digital collection
3. ตั้งชื่อหัวข้อให้ชัดเจน กระชับ
4. ค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากเว็บต่างๆ เช่น TDC และงานวิจัยในเว็บของมหาวิทยาลัยอื่น รวมถึงงานวิจัยต่างประเทศ บันทึกไว้
5. อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน
6. คิดว่าจะใช้เครื่องมืออะไรในการวิจัย เช่น แบบสอบถาม, แบบสัมภาษณ์, แบบทดสอบ
7. เก็บข้อมูลการวิจัย เช่น เก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง, ผ่านเว็บไซต์ (ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ทำวิจัย)
8. วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล
R : 1. นำผลการวิจัยมาพัฒนาและปรับปรุงการทำงาน เช่น การปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์
2. เกิดความชำนาญ เข้าใจกระบวนการทำวิจัยมากยิ่งขึ้น
3. ได้ความรู้ใหม่เกิดขึ้น
KSF: 1. เลือกเรื่องที่สนใจ หรือเกี่ยวข้องกับงาน
2. การค้นคว้าข้อมูล
3. อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4. แบ่งเวลาในการทำวิจัยให้เหมาะสม
***********************************************

ผู้เล่า : คุณอาภากร ธาตุโลหะ
C : ประสบการณ์ในการทำวิจัย
A : 1. มีประสบการณ์ในการทำงานศูนย์ข้อมูลภาคตะวันออก และพบปัญหาว่ามีทรัพยากรน้อย จึงทำวิจัยเรื่อง วิเคราะห์เนื้อหาทรัพยากรในศูนย์ข้อมูลภาคตะวันออก
2. เมื่อวิเคราะห์ได้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง ขาดข้อมูลด้านใดบ้าง จึงเลือกหัวข้อการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน โดยเลือกการสำรวจแหล่งข้อมูลภาคตะวันออกในจังหวัดต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาข้อ 1
3. เมื่อสำรวจแหล่งทรัพยากรและจัดหาทรัพยากรมาเพิ่มแล้ว จึงสำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์ข้อมูลภาคตะวันออก/ ฝ่ายส่งเสริมการใช้บริการ ซึ่งตอบปัญหาในส่วนของ KPI ของการประกันคุณภาพการศึกษา
4. นอกจากสำรวจความพึงพอใจของศูนย์ข้อมูลแล้ว ยังสำรวจการใช้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาคตะวันออกที่จัดทำขึ้น ซึ่งเป็นตัวหนึ่งใน KPI ของ PULINET
5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จะใช้เครื่องมือที่ตัวเองถนัด และเหมาะกับงานวิจัย เมื่อเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยแบบ Content Analysis ต้องอ่านมากๆ ค้นคว้ามากๆ
6. อ่านงานวิจัยของต่างประเทศจะช่วยในเรื่องของเครื่องมือในการวิจัยได้มาก เพราะงานวิจัยในต่างประเทศจะมีเครื่องมือในการวิจัยที่ดี กระชับ
7. เนื่องจากไม่เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลโดย SPSS ก็จะใช้การสอบถามผู้เชี่ยวชาญ
R : 1. แก้ปัญหาในการทำงานได้
2. มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยมากขึ้น
3. สามารถเป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัยให้คนที่สนใจได้
4. มีความรู้กว้างขึ้น
KSF :

1. มีวินัยในการทำวิจัย
2. การอ่านงานวิจัยต่างประเทศ

Download (DOCX, 15KB)