โครงการขยายวิทยาเขตมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
ความเป็นมา
ตามนโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทและตามแผนอุดมศึกษาระยะยาว (พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๔๗) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการมุ่งขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมายของอุดมศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับของประเทศ อันจะช่วยชี้นำทิศทางและรองรับการพัฒนาการทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดนโยบายในการขยายอุดมศึกษาโดยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาใหม่ในส่วนภูมิภาคและ ตามนโยบายและมาตรการในการดำเนินการตามแผนพัฒนา ฯ ระยะที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) ของทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีการเร่งรัดการกระจายโอกาสและความเสมอภาคในระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้น มหาวิทยาลัยบูรพาจึงได้นำเสนอโครงการการจัดตั้งวิทยาเขตจันทบุรีขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัยและการบริการวิชาให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และทบวงมหาวิทยาลัยดังกล่าวประกอบกับ เป็นความต้องการของจังหวัดจันทบุรีและประชาชนของจังหวัดจันทบุรีจึงได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ๒ แปลง รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๓๐๐ ไร่ คือ
๑. บริเวณบ้านโขมง ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ประมาณ ๔๕๐ ไร่
๒. บริเวณหนองสนามไชย กิ่งอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ประมาณ ๘๗๘ ไร่
คณะรัฐมันตรีในคราวประชุมเมื่อ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยบูรพขยายวิทยาเขตไปสู่จังหวัดจันทบุรีได้
ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ จังหวัดจันทบุรีได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยบูรพาใช้หอประชุมทองใหญ่อนุสรอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ ๔ ไร่ เป็นอาคารบริหารและอาคารเรียนชั่วคราวได้
ในการประชุมปรึกษาหรือโครงการของวิทยาเขตไปสู่ภูมิภาค เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ ทบวงมหาวิทยาลัยที่ประชุมได้กำหนดพื้นที่ในการขยายวิทยาเขตแต่ละแห่งไม่ควรน้อยกว่า ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนเขตที่พักอาศัยเขตกีฬาและสันทนาการและพื้นที่สีเขียว และเขตสาธารณูปโภค ทาวจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราดจึงได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์เพิ่มเติมดังนี้
๑. พื้นที่บริเวณบ้านหวัก ตำบลบ่อไร่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่
๒. พื้นที่บริเวณทุ่งร้อยรู ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด พื้นที่ประมาณ ๙๐๐ ไร่ รวมพื้นที่ ๒ แปลง ๑,๑๐๐ ไร่
๓. เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ จังหวัดจันทบุรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารศาลากลางหลังเก่าและที่ดินรอบบริเวณประมาณ ๔ ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
ความก้าวหน้าในการดำเนินการ
๑. จังหวัดจันทบุรีได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้พื้นที่ภายในอาคารหอประชุมทองใหญ่อนุสร เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ เป็นอาคารบริหารและอาคารเรียนชั่วคราว โดยจังหวัด
ได้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยปรับปรุงซ่อมแซมให้กับมหาวิทยาลัยเป็นงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ นอกจากนี้
อาคารหอประชุมทองใหญ่ จะเป็นห้องเรียนสำหรับการเรียนการสอนทางไกลตามโครงการเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยได้จัด
การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (วท.บ.) ระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา (กศ.ม) ขณะนี้ได้จัดการเรียนการสอนแล้ว
๒. มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจ้างบริษัทเอกชนจัดทำผังแม่บทสำหรับวิทยาเขตจันทบุรี บริเวณบ้านโขมง อำเภอท่าใหม่และหนองสนามไชย กิ่งอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
๓. มหาวิทยาลัยได้จ้างบริษัทดำเนินการออกแบบอาคารบริหารและอาคารเรียนรวมของวิทยาเขตจันทบุรีไปแล้ว
๔. มหาวิทยาลัยได้ขออนุมัติใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์จังหวัดจันทบุรีพื้นที่บ้านโขมง อำเภอท่าใหม่ และหนองสนามไชย กิ่งอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรีเพื่อการเพิกถอนที่ดินสาธารณประโยชน์มาเป็นที่ราชพัสดุ (กรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย)และเพื่อการได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อไป ขณะนี้กรมที่ดินได้ให้ความเห็นชอบการขอใช้ที่ดินและอยู่ในระหว่างการให้กระทรวงมหาดไทยอนุมัติต่อไป
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของวิทยาเขตจันทบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดจันทบุรีในระยะแรกช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๘
(พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) มีการแบ่งส่วนราชการออกเป็น สำนัก คณะวิชา วิทยาลัยและศูนย์ ดังนี้
๑. สำนักบริหาร(จังหวัดจันทบุรี) มหาวิทยาลัยบูรพา (๒๕๔๐)
(๑) ส่วนบริหารทั่วไป
(๒) ส่วนบริหารการวิชาการ
(๓) ส่วนกิจการนิสิต
(๔) ส่วนนโยบายและแผน
๒. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (๒๕๔๐)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
(๓) ภาควิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
(๔) ภาควิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
(๕) ภาควิชามนุษย์ศาสตร์
(๖) ภาควิชาสังคมศาสตร์
๓. วิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลและการประมง (๒๕๔๒)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
๔. วิทยาลัยอัญมณีและเครื่องประดับ (๒๕๔๐)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
๕. คณะเทคโนโลยี (๒๕๔๓)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) ภาควิชาเทคโนโลยีโลหะ
(๓) ภาควิชาเทคโนโลยีพลังงาน
(๔) ภาควิชาเทคโนโลยีการยาง
(๕) ภาควิชาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
(๖) ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี
๖. คณะวิทยาการจัดการ (๒๕๔๔)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) ภาควิชาการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว
(๓) ภาควิชาบริหารธุรกิจ
(๔) ภาควิชาพานิชย์นาวี
๗. สำนักวิทยบริการ (๒๕๔๐)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) ฝ่ายบรรณสาร
(๓) ฝ่ายบริการวิชาการ
(๔) ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
(๕) ฝ่ายฝึกอบรมและเผยแพร่
(๖) ฝ่ายการศึกษาทางไกล
๘. ศูนย์นิเวศวิทยาชายฝั่ง (๒๕๔๐)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) ฝ่ายสวนป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ
(๓) สถานีวิจัยนิเวศวิทยาชายฝั่ง
หมายเหตุ (พ.ศ……) ท้ายส่วนราชการเป็นปีแรกที่ดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๙ จะกำหนดให้มีคณะอื่น ๆ ในโครงสร้างการบริหารของวิทยาลัยเขตจันทบุรี ดังนี้
๙. คณะสัตว์แพทย์และสัตวบาล (๒๕๔๖)
(๑) สำนักงานเลขานุการ
การพัฒนาการศึกษาของวิทยาเขต
เพื่อให้การดำเนินงานของวิทยาเขตจันทบุรี – ตราด เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาจึงกำหนดไว้เป็นหลักการว่า มหาวิทยาลัยควรจัดทำแผน (แผนระยะยาว ๑๐ ปี) เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการศึกษาของวิทยาเขตจันทบุรี-ตราด ต่อไปซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
๑. แผนวิชาการแผนวิชาการ มีสาระสำคัญที่กำหนดให้หน่วยงาน/สาขาวิชาจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการ ในพื้นที่ไหนบ้างโดนให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ทิศทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ของพื้นที่นั้นเป็นสำคัญ ดังนี้
(๑) ในระยะแรก (ปี ๒๕๔๐) วิทยาลัยอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์) และสำนักบริหาร (จังหวัดจันทบุรี) มหาวิทยาลัยบูรพากำหนดให้จัดการเรียนการสอน และบริหารงานที่อาคารทองใหญ่อนุสร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เมื่ออาคารที่มหาวิทยาลัยที่บ้านขโมง อำเภอท่าใหม่ สร้างเสร็จจะย้ายไปจัดการเรียนการสอนที่นั่น
(๒) คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปและวิทยาลัยเทคโนทางทะเลและการประมง ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีทางทะเลและเทคโนโลยีการประมง กำหนดให้ใช้พื้นที่ของวิทยาเขตที่ บ้านโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
(๓) สำนักวิทยบริการซึ่งจะทำหน้าที่บริการวิชาการและบริการห้องสมุดของวิทยาเขตกำหนดให้ใช้พื้นที่ของวิทยาเขตที่บ้านโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
(๔) ศูนย์นิเวศวิทยาชายฝั่ง ซึ่งจะทำหน้าที่บริการวิจัยทางด้านนิเวศวิทยาชายฝั่งป่าชายเลนและด้านอื่น ๆ กำหนดให้ใช้พื้นที่ของวิทยาเขตที่ ตำบลหนองสนามไชยกิ่งอำเภอ
นายายอาม จังหวัดจันทบุรี
(๕) คณะวิทยาการจัดการ (ปี ๒๕๔๔) ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนทางด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว การบริหารธุรกิจและพานิชย์นาวี คณะสัตวแพทย์และสัตวบาล (ปี ๒๕๔๖)
ซึ่งจะจัดการเรียนการสอนทางด้านสัตวแพทย์และสัตวบาล คณะเทคโนโลยี (ปี ๒๕๔๓) ซึ่งจะจัดการเรียนทางด้านเทคโนโลยีโลหะ (๒๕๔๕) เทคโนโลยีพลังงาน (๒๕๔๓) เทคโนโลยีการยาง (๒๕๔๕) เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ (๒๕๔๖) เทคโนโลยีธรณี (๒๕๔๔) กำหนดให้ใช้พื้นที่ของวิทยาเขตที่บริเวณอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และที่บริเวณบ้านทุ่งร้อยรู อำเภอเขาสมิง
จังหวัดตราด
นอกจากนี้ในปีการศึกษา ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยบูรพาได้จัดการเรียนการสอนทางไกลโดนถ่ายทอดสัญญาณจากมหาวิทยาลัยบูรพาที่หอประชุมทองใหญ่อนุสร อำเภอเมือง
จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นอาคารเรียน และอาคารบริหารชั่วคราว ในสาขาวิชา ดังนี้
ระดับปริญญาโท
๑. สาขาบริหารการศึกษา (กศ.ม) จัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
๒. สาขาบริหารธุรกิจ (บธ.ม) จัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ระดับปริญญาตรี
๑. สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (วท.บ.) จัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
๒. สาขาวัสดุศาสตร์-เทคโนโลยีอัญมณี (วท.) จัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
สรุปงบประมาณของโครงการตามที่ได้ปรากฏ ในเอกสารงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๐
ปีงบประมาณ | เงินงบประมาณ | เงินนอกงบประมาณ | รวม |
๒๕๓๙ ๒๕๔๐ ๒๕๔๑-๒๕๔๔ | ๑๒,๖๔๔,๐๐๐ ๑๖,๑๑๖,๖๐๐ ๑,๓๒๙,๕๕๑,๔๐๐ | – – – | ๑๒,๖๔๔,๐๐๐ ๑๖,๑๑๖,๖๐๐ ๑,๓๒๙,๕๕๑,๔๐๐ |
รวม | ๑,๓๕๘,๘๒๗,๐๐๐ | – | ๑,๓๕๘,๘๒๗,๐๐๐ |