พิธีเปิดป้าย นามวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน
พิธีเปิดป้าย นามวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นประธานในพิธีเปิดป้าย นามวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
พิธีเปิดป้าย นามวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นประธานในพิธีเปิดป้าย นามวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
พิธีวางศิลาฤกษ์ ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารอำนวยการ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ถือเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยดำริของ ฯพณฯ พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีความเห็นว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เมื่อปี ๒๔๙๗ ได้ทำหน้าที่ผลิตครูระดับปริญญาอยู่แล้ว หากขยายวิทยาเขตออกสู่ภูมิภาค จะสามารถตอบสนองนโยบายการกระจายการศึกษาออกจากส่วนกลางได้ จึงได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสนขึ้น
ประตูทางเข้าวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้รับการอนุมัติเงิน ๒ แสนบาท จาก จอมพลสฤษต์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างรั้วที่หน้าประตูและกั้นลวดหนามรอบวิทยาลัย
อาคารอำนวยการ (ตึก A) เป็นอาคารหลังแรกของวิทยาลัย สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
คณาจารย์ วศ. บางแสน ดร.ธำรง บัวศรี อ.ลมัย วันชูเพรา อ. โฉมฉาย อนันตรังษี อ.วลัยวรรณ สุธัญรัตน์ อ.ประมาณ ฮะกีมี
คณาจารย์รุ่นแรกของบางแสน นิสิตทั้งหมดได้เดินทางจากกรุงเทพฯ มาสู่ตำบลแสนสุขพร้อมกันในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ และเริ่มเรียนเป็นวันแรกเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ขณะนั้นมีอาจารย์ทั้งหมด ๗ ท่าน โดยมี ดร.ธำรง บัวศรี เป็นผู้รักษาการรองอธิการ
การเดินทาง เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ พร้อมกันเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยวิชาการศึกษา ปทุมวัน เพื่อเตรียมเดินทางสู่บางแสน