ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศและคลังปัญญา
หน้าที่ความรับผิดชอบ
มีหน้าที่ดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ งานสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศงานวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ และงานบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
- เพื่อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
- เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ หนังสือ วารสาร สื่อโสตทัศน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่าในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
โดยวิธีการจัดซื้อ ได้แก่ หนังสือ วารสาร สื่อโสตทัศน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัย ครอบคลุมหลักสูตรทั้งหมดที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการดังนี้
- ควบคุมการใช้งบประมาณในการจัดซื้อ และการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
- คัดเลือกหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวบรวมรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่จะสั่งซื้อและตรวจสอบก่อนการสั่งซื้ออย่างละเอียด แจ้งผลการดำเนินงานให้ผู้เสนอแนะทราบ
- การบอกรับเป็นสมาชิกวารสาร จากบริษัท หน่วยงาน องค์กร สำนักพิมพ์ หรือบริษัทตัวแทน ทั้งในและต่างประเทศ
- เลือกตัวแทนจำหน่ายเพื่อการสั่งซื้อ พิจารณาเปรียบเทียบราคา ดำเนินการสั่งซื้อ ติดตาม ทวงถาม ตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศกับใบส่งของ ส่งเอกสารการจัดซื้อให้งานพัสดุ
- ศึกษาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ จัดเก็บข้อมูลและตรวจสอบสถิติที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือก
การจัดซื้อหนังสือ
- หนังสือที่จะได้รับการจัดซื้อ ได้แก่ หนังสือที่ยังไม่มีให้บริการในสํานักหอสมุด หรือมีให้บริการแต่มีจํานวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้
- การสั่งซื้อหนังสือที่ไมม่ีจําหน่ายในประเทศ ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศนั้น จะใช้เวลาดําเนินการประมาณ 2 – 4 เดือน ฉะนั้นควรเสนอแนะให้จัดซื้อล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควร
- จํานวนหนังสือที่จะจัดซื้อเพื่อให้บริการในสำนักหอสมุดจะเป็นไปตามความเหมาะสม ตามเกณฑ์ทั่วไปดังนี้
• หนังสือตําราเรียนหรืออ่านประกอบทางด้านวิชาการ จัดซื้อจํานวน 2-3 เล่ม/ ชื่อเรื่อง
• หนังสือภาษาไทยประเภทสารคดี บันเทิงคดี หนังสืออ่านประกอบ จัดซื้อจํานวน 1-2 เล่ม/ ชื่อเรื่อง
• หนังสือภาษาไทยประเภททั่วไป จัดซื้อจํานวน 1-2 เล่ม/ ชื่อเรื่อง
• หนังสือภาษาต่างประเทศ จัดซื้อจํานวน 1 เล่ม/ ชื่อเรื่อง
การเสนอแนะหนังสือ
งานเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ
- การลงทะเบียนหนังสือ ประทับตราแสดงความเป็นเจ้าของ
- งานสแกนปกหนังสือ เพื่อนำเข้าระบบฐานข้อมูลห้องสมุด
- การเสริมปกหนังสือใหม่
งานหนังสือบริจาค
การดำเนินงานในการรับหนังสือบริจาค
- สํานักหอสมุดจะรับหนังสือบริจาคที่ไม่มีเงื่อนไขในการบริจาค
- สำนักงานผู้อำนวยการจะดำเนินการทำหนังสือตอบขอบคุณ ตามที่ผู้บริจาคแจ้งความประสงค์ไว้
- หนังสือบริจาคที่ได้รับทั้งจากหน่วยงานหรือส่วนบุคคล บรรณารักษ์จะดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้บริการในสำนักหอสมุด จํานวน 1-2 เล่ม/ ชื่อเรื่อง หากได้รับหนังสือแต่ละชื่อมีจํานวนมากเกินความต้องการ รวมทั้งระดับ สาขา เนื้อหา ของหนังสือ ไม่เหมาะสมในการให้บริการในสํานักหอสมุด จะทําการคัดเลือกเพื่อบริจาคให้กับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ต่อไป
- หนังสือบริจาคให้สำนักหอสมุด จะขอรับหนังสือที่เป็นปีย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ยกเว้นหนังสือด้านประวัติศาสตร์ ข้อมูลเกี่ยวกับภาคตะวันออก หนังสือได้รับรางวัล
- สำนักหอสมุด ไม่รับบริจาคหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีสภาพชำรุด กระดาษเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขาดบวม หรือขึ้นรา จนไม่สามารถใช้งานได้ มีรอยการขีดเขียน จดบันทึก เน้นข้อความ และเอกสารทำสำเนา
งานสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ
ฐานข้อมูลหนังสือ วิทยานิพนธ์ หนังสือบริจาค และสื่อโสตทัศน์
- ตรวจสอบความซ้ำของหนังสือ วิทยานิพนธ์ หนังสือบริจาค และสื่อโสตทัศน์กับฐานข้อมูลระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WaLai AutoLib Ultimate
- สร้างระเบียนบรรณานุกรมของหนังสือ วิทยานิพนธ์ หนังสือบริจาค และสื่อโสตทัศน์
ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
- ประสานงานกับสำนักพิมพ์/ บริษัท เพื่อขอข้อมูล Marc Record ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนำเข้าฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ WaLai AutoLib Ultimate
- ตรวจสอบความซ้ำ/สร้างและปรับปรุงระเบียนบรรณานุกรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมวิเคราะห์หมวดหมู่ หัวเรื่อง และตรวจสอบการเข้าถึง Full Text
- นำข้อมูลระเบียนบรรณานุกรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบฐานข้อมูลห้องสมุด
งานวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ
- วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือแต่ละรายการ และกำหนดเลขหมู่ให้ตรงกับเนื้อหาพร้อมทั้งกำหนด หัวเรื่องโดยใช้คู่มือประกอบ
- วิเคราะห์หัวเรื่องและกำหนดเลขหมู่วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์
- ลงรายการบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21
- บันทึกข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ วิทยานิพนธ์ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ หัวเรื่อง และข้อมูลอื่นๆ ตามรูปแบบมาตรฐานการลงรายการในระบบ WaLai AutoLib Ultimate
- งานตรวจสอบ Authority ของฐานข้อมูล
- การสร้างบรรณานุกรมวารสาร และการวิเคราะห์บทความวารสาร
งานเตรียมหนังสือก่อนออกบริการ
- พิมพ์สัน ติดสัน ตามเลขเรียกหนังสือ
- ตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือกับสันหนังสือ
- นำหนังสือส่งฝ่ายบริการสารสนเทศฯ เพื่อออกให้บริการ
บริการหนังสือด่วน
หนังสือใหม่ที่รอการวิเคราะห์หมวดหมู่ ซึ่งมีทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่จัดซื้อเข้ามาให้บริการในสำนักหอสมุด ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จาก Web Opac และขอใช้บริการได้โดยกรอกแบบฟอร์มที่ E-form หน้าเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด
งานบำรุงรักษาทรัพยากร
งานบํารุงรักษาทรัพยากร ทําหน้าที่บํารุงรักษาหนังสือให้มีสภาพดีเหมาะสมกับการให้บริการในห้องสมุดซึ่งมีผู้ใช้บริการเป็นจํานวนมาก ดังนั้นหนังสือทุกเล่มจําเป็นต้องได้รับการบํารุงรักษาเพื่อให้มีสภาพรูปเล่ม ที่มั่นคงแข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยงานบํารุงรักษาทรัพยากร มีนโยบายในการดําเนินงานดังนี้คือ
- หนังสือทุกเล่มที่รับเข้ามาใหม่ในห้องสมุดก่อนจะทําการจัดหมวดหมู่เพื่อนําส่งขึ้นชั้นให้บริการนั้น จะต้องผ่านกระบวนการคัดแยกตามประเภทของปก และประเภทของสิ่งพิมพ์กล่าวคือจะคัดแยกหนังสือออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ หนังสือปกแข็ง หนังสือปกอ่อน และวิทยานิพนธ์ (ฉบับสําเนา) หนังสือปกแข็งจะคัดแยกและนําส่งฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือปกอ่อนจะทําการเสริมปกแข็ง และวิทยานิพนธ์ฉบับสําเนาจะทําการเย็บเล่มและเข้าปกแข็ง
- หนังสือที่ออกให้บริการในห้องสมุดแล้วชํารุด ส่วนงานให้บริการผู้ใช้จะรวบรวมส่งให้งานบํารุงรักษาหนังสือดําเนินการรับมาทําความสะอาดและคัดแยกประเภทการซ่อม โดยจําแนกการซ่อมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การซ่อมแบบสมบูรณ์ (Full repair) การซ่อมกึ่งสมบูรณ์ (Half repair) การซ่อมบางส่วน (Partial repair) และการเย็บเล่มเข้าปกแข็ง (binding) กระบวนการนี้รวมถึงการจัดทําป้ายอักษรชื่อเรื่องของหนังสือและแถบรหัสเลขเรียกหนังสือ เพื่อความสมบูรณ์ในการขึ้นชั้นให้บริการอีกครั้งหนึ่งของหนังสือด้วย
- การรับหนังสือชํารุดจากส่วนให้บริการผู้ใช้จะต้องตรวจสอบเอกสารนําส่งซึ่งแนบมาให้ถูกต้องตรงกัน เมื่อมีรายการใดไม่ถูกต้องจะทําการทักท้วงและนําเอกสารส่งคืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับจํานวนและรายการหนังสือที่ได้รับจริงทุกครั้ง และเมื่องานบํารุงรักษาหนังสือ ดําเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนําหนังสือส่งคืนส่วนให้บริการผู้ใช้ครบถ้วนตามจํานวนที่ได้รับ
- สําหรับหนังสือที่ถูกส่งมารับการบํารุงรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีใด จะเป็นหนังสือใหม่แรกรับ หรือหนังสือเก่าออกให้บริการแล้วชํารุดส่งซ่อมก็ตาม เมื่อมีผู้ใช้บริการต้องการใช้ด่วน งานบํารุงรักษาหนังสือจะดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากได้รับคําร้องขอ โดยร้องขอไม่เกิน เวลา 14.00 น. ของวันทําการปกติ หากได้รับแจ้งหลังจากเวลานี้ผู้ใช้บริการจะได้รับหนังสือในอีก 1 วัน ถัดมา
- วัสดุที่ใช้ในการบํารุงรักษาหนังสือจะเป็นไปด้วยความประหยัดตามวิธีการในการบํารุงรักษาแต่ละวิธีซึ่งแตกต่างกันไป โดยหากวัสดุเดิมของหนังสือยังใช้ได้จะยังคงใช้เป็นส่วนสําคัญในการบํารุงรักษา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อม การเสริมปกแข็ง หรือการเข้าปกเย็บเล่มใหม่ก็ตาม